จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 156 : บุคลิกภาพและวิถีชีวิตกับชราภาพ (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-156

      

      หัวข้อที่ผ่านๆ มาส่วนใหญ่แล้วเกี่ยวข้อง (Principally concerned) กับโลกภายในจิตใจ (Internal mental world) ของผู้สูงวัย อาทิ ผู้สูงวัย คิดอย่างไร? และจดจำอย่างไร? ซึ่งจะได้คำตอบต่อคำถามเหล่านี้ จากความเข้าใจก่อนว่า สมองและจิตใจ (Mind) ประมวลข้อมูลอย่างไร?

      แต่ต่อจากนี้ไป เราจะพิจารณาปัจจัยทางจิตวิทยา (Psychological factor) ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นว่า ผู้สูงวัยมีปฏิสัมพันธ์ (Interact) กับโลกรอบตัว ผ่านบุคลิกภาพ (Personality) และวิถีชีวิต (Life-style) อย่างไร? เราจะพิจารณาประเด็นที่สัมพันธ์กันด้วย อาทิ ผู้สูงวัยมองตนเอง ทางเลือกวิถีชีวิต และทัศนคติของผู้อื่นต่อผู้สูงวัยและชราภาพ อย่างไร?

      มีความพยายามมากมาย (Numerous) ที่จะนิยามคำว่า “บุคลิกภาพ” แต่คำนิยามโดยทั่วไปที่เป็นประโยชน์ก็คือ “คุณลักษณะ (Characteristic) และหนทาง (Way) ที่ปัจเจกชน (Individual) จะประพฤติตนในองค์กร (Organization) หรือรูปแบบ (Pattern) ที่สะท้อนถึง (Account for) การปรับที่ตัวโดดเด่นเฉพาะ (Unique adjustment) ของแต่ละบุคคลในสภาพแวดล้อมทั้งหมด (Total environment) ของเขา”

      ข้อความที่ดูเหมือนจะขัดแย้งกันในตัวเอง (Paradoxically) ก็คือ นักจิตวิทยามักไม่ค่อยกังวล (Bother) ในเรื่อง อะไรทำให้เราแต่ละคนโดดเด่นเฉพาะตัว แต่เขาจะสนใจในเรื่องรูปแบบของพฤติกรรมที่คนเรามีร่วมกัน (In common) มากกว่า

      ตัวอย่างสำคัญ (Prime) ได้แก่ การศึกษาเรื่องอุปนิสัยของบุคลิกภาพ (Personality trait) ซึ่งเป็นกลุ่มพฤติกรรม (Set of behaviors) ที่ทุกคนมีอยู่ (Process) แต่ความแข็งแกร่งของอุปนิสัยที่แสดงออก (Manifest) อาจแตกต่าง (Vary) กันไปตามแต่ละบุคคล แนวความคิดนี้อาจเป็นสิ่งที่เข้าใจง่ายขึ้น หากเราพิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้

      อุปนิสัยที่วัดผลกันโดยทั่วไป (Commonly-measured)) ก็คือ การเป็นคนเปิดเผยหรือเป็นคนปกปิด ((Extraversion- Introversion : EN) ซึ่งอธิบายขอบเขต (Degree) ที่บุคคลจะเปิดตัวเข้าสังคม (Outward going) และกล้าแสดงออก (Assertive) จึงไปงานสังสรรค์ (Party) ที่ชอบเป็นชีวิตจิตใจ (Life and soul) เรากล่าวว่า เป็นคนที่มี E สูง

      ในทางตรงกันข้าม คนที่มี E ต่ำจะขี้อาย (Shy) เงียบขรึม และถอนตัว (Retiring) ออกจากสังคม แต่ผู้คนส่วนมากมีแนวโน้มที่จะอยู่กลาง (Middle) ของช่วงอันดับ (Scale) E กล่าวคือไม่เปิดตัวเข้าสังคม หรือปิดตัวจากสังคม (Withdraw) อย่างไรก็ตาม ทุกๆ คนอาจถูกวัดผลด้วยช่วงอันดับเดียวกัน

      เราทุกคนอาจมีอุปนิสัยเดียวกัน แต่แตกต่างกันตามความแข็งแกร่งหรืออ่อนแอ [ตามช่วงอันดับ] ของอุปนิสัยที่เราครอบครอง โดยที่ตัวอุปนิสัยเอง ไม่สามารถบอกเราทุกๆ อย่างเกี่ยวกับบุคลิกภาพของบุคคลนั้นๆ ได้

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Your Personality Completely Transforms As You Agehttps://www.huffingtonpost.com/entry/personality-changes-age_us_58ac6736e4b02a1e7dac16b3 [2018, April 10].