จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 155 : บทสรุปภาษากับชราภาพ

จิตวิทยาผู้สูงวัย-155

      

      การวิจัยในเรื่องการเปลี่ยนแปลงในภาษาของผู้สูงวัยที่มีอยู่ในปัจจุบัน ค่อนข้างจะกระจัดกระจาย (Fragmented) ในบางส่วน มีการครอบคลุม (Cover) ค่อนข้างลึก ในขณะที่ส่วนอื่น ค่อนข้างผิวเผิน ดังนั้นการแปลผล (Interpretation) จึงต้องดำเนินไปด้วยความระมัดระวัง (Guarded)

      ความเสื่อมถอย (Decline) ในการมองเห็น (Sight) และการได้ยิน (Hearing) มีผลกระทบต่อทักษะภาษา (Linguistic skill) โดยทั่วไป การเสื่อมถอยของสุขภากาย (Physical health) อาจทำให้ยากขึ้นในการเข้าถึง (Lessen access) โลกภายนอก ส่งผลให้โอกาสการสนทนา (Conversational opportunity) การเดินทางไปห้องสมุด (Library visit) ฯลฯ น้อยลง

      แม้ภายในบ้านเอง นิสัยการอ่านก็เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะของเรื่องที่อ่านค่อนข้างเบา [สมอง] (Lightweight reading material) จะด้วยเหตุผลทักษะทางปัญญา (Intellectual) ที่เสื่อมถอยลง หรือแรงจูงใจ (Motivational) ที่เปลี่ยนไป ยังเป็นคำถามคาใจ (Moot question) กันอยู่ในทุกวันนี้

      อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้สูงวัยจำนวนไม่น้อย ก็มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น (Appreciable alteration) ในทางปฏิบัติของการอ่านและทักษะภาษาอื่นๆ ซึ่งบางส่วนอธิบายการเปลี่ยนแปลงโดยทั่วไปในภาษา แต่ความสงสัยตามปรกติ (Usual suspect) จะอยู่ที่การชะลอตัวลงโดยทั่วไปของสติปัญญา แม้ว่าปัญญาผลึก (Crystalized intelligence) อาจไม่มีบทบาทสำคัญในกรณีนี้

      ในเรื่องทักษะเฉพาะ (Specific skill) อาทิ การรับรู้การคำ (Word recognition) การประมวลประโยค (Synthetic processing) และการระลึกถึงเรื่องราว (Story recall) เรามักพบความเสื่อมถอยที่สัมพันธ์กับอายุ อย่างไรก็ตาม ในเรื่องขอบเขต (Magnitude) ของความแตกต่างตามอายุ อาจได้รับการขยาย (Inflated) ตามที่ประดิษฐ์ขึ้นจากการทดลอง (Experimental artifact) อาทิ ประเภทของวัสดุทดสอบ (Test material) ที่ใช้ และผลกระทบของรุ่นราวคราวเดียวกัน (Cohort effect)

      ข้อวิพากษ์วิจารณ์ (Criticism) ที่ใหญ่หลวงที่สุด อาจเป็นข้อเท็จจริงที่ว่า ข้อสอบการอ่านจำนวนไม่น้อยมิได้สะท้อนความเป็นจริง (Unrealistic) ตัวอย่างเช่น ตามปรกติแล้ว ผู้คนมักไม่ใช้เวลาในคำต่อคำ (Verbatim) เมื่ออ่านเรื่องสั้นๆ ออกเสียง (Pronounce) คำที่คลุมเครือ (Obscure word) หรือตัดสินว่า กลุ่มอักขระ (String of letters) บนจอคอมพิวเตอร์ ก่อร่าง (Form) เป็นคำหรือไม่

      ดังนั้น จึงต้องเตือนให้ระมัดระวัง (Caution) เรื่องของผลลัพธ์เหล่านี้ เนื่องจากมาตรวัด (Measure) ที่ใช้ อาจไม่เหมาะสมกับประสบการณ์ในชีวิตจริง (Real-life experience) อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน มีตำราน้อยมากอย่างน่าประหลาดใจ ที่ครอบคลุมเรื่องของภาษากับชราภาพ ซึ่งมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้อ่านโดยทั่วไป

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Neural Compensation Linked to Better Memory in Old Agehttp://neurosciencenews.com/neural-compensation-aging-cognition-2170/ [2018, April 3].