จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 152 : การชดเชยทางประสาท (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-152

      

      นักวิจัยพบว่า ผู้ใหญ่สูงวัยมีความเข้าใจเกือบสมบูรณ์ (Near-perfect comprehension) ในรายการข่าวทางวิทยุ (Radio news) อันเป็นงานธรรมชาติมากที่สุด (Naturalistic task) ซึ่งผู้ใหญ่สูงวัยมิได้แสดงข้อบกพร่อง (Deficit) และในกิจกรรมนี้ นักวิจัยยังพิจารณาถึงความยาวของข้อความร้อยแก้ว (Prose passage) ที่ใช้อีกด้วย แล้วได้บทสรุปที่น่าสนใจไม่น้อย

      ผู้เข้ารับการทดลอง (Experimenter) มักเลือกรายการที่มีความยาวเท่าๆ กับบทความ (Article) ในนิตยสาร (Magazine) หรือหนังสือพิมพ์ อันเป็นรายการที่ผู้สูงวัยคุ้นเคยมากที่สุด แต่ก็ไม่สอดคล้อง (Accord) กับประสบการณ์การอ่านอื่นๆ นักวิจัยสังเกตว่า เนื้อหาที่มีความยาวมากๆ อาทิ 1,600 คำ ได้รับการศึกษาเป็นส่วนน้อย (Minority)

      แต่ไม่อาจเมื่อเปรียบเทียบกับนวนิยาย (Novel) ซึ่งแม้ความยาวปานกลาง (Moderate) จะอยู่ที่ประมาณ (Circa) 60,000 คำ โดยที่เนื้อหาที่ใช้ในการทดลองมาตรฐาน จะสั้นกว่านี้มาก เหตุผลของข้อสังเกตนี้ก็คือ ผู้ใหญ่สูงวัยมักแย่อย่างน่าตกใจ (Appalling) ไม่เพียงแต่การจดจำโครงเรื่อง (Plot) ของหนังสือเท่านั้น แต่ยังจำไม่ได้ด้วยซ้ำว่า หนังสือเล่มไหนเคยอ่านมาก่อน

      ปรากฏการณ์ (Phenomenon) นี้ดูเหมือนจะกระจายไปทั่ว (Widespread) แต่ความล้มเหลวอย่างเห็นได้ชัด (Shining failure) ของการระลึกข้อความยาวๆ ในร้อยแก้ว ดูเหมือนจะรอดพ้น (Escape) สายตา [ความสนใจ] ของนานานักวิจัย อย่างน่าประหลาดใจ

      ไม่มีเหตุผลใด ที่จะสันนิษฐานว่า ผู้ใหญ่สูงวัยไม่อาจรับรู้ (อย่างมีสติสัมปชัญญะ) ในเรื่องความต้องการ (หรือความจำเป็น) ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการพัฒนานิยามข้อมูลความเข้าใจ (Meta-comprehension) นักวิจัยได้สัมภาษณ์กลุ่มผู้เข้าร่วมวิจัยสูงวัยจำนวน 96 คน แล้วพบว่า เขาเหล่านั้นใช้หลากหลาย (Wide variety) กลยุทธ์ในการอ่าน

      มีองค์ความรู้ของวรรณกรรม (Body of literature) ที่เพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ (Burgeoning) ซึ่งแสดงว่า บางส่วนของความเข้าใจนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของประสาท (Neurological) ในสมอง โดยอาณาบริเวณใหม่ๆ เกิดขึ้น ในขณะที่อาณาบริเวณเก่าๆ ตั้งแต่ที่พบในวัยเด็ก ได้เสื่อมถอยลงในช่วงเวลาต่อมาของชีวิต

      เป็นที่รับรู้กันแล้ว (Readily established) ว่า การเปลี่ยนแปลงของประสาท เกิดขึ้น (Occur) ในส่วนของสมองที่เกี่ยวข้อง (Concerned) กับการได้ยิน (Auditory) และการหยั่งรู้คำพูด (Speed perception) เมื่อเราสูงวัยขึ้น ตัวอย่างเช่น ผู้ใหญ่สูงวัย มีปัญหาในการทำตามผู้พูด เมื่อมีเสียงดังที่มาจากฉากหลัง

      ปัญหานี้ดูเหมือนจะเกิดขึ้นในช่วงวัยกลางคน (Middle age) ที่ผู้ฟัง (แม้จะไม่มีปัญหาการได้ยิน) รายงานว่า มีความยากลำบากในการสนทนาในสถานการณ์ที่มีเสียงดังอึกทึก อาทิ ในงานเลี้ยง (Party)

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Neural Compensation Linked to Better Memory in Old Agehttp://neurosciencenews.com/neural-compensation-aging-cognition-2170/ [2018, March 13].