จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 149 : ความเข้าใจเรื่องราว (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-149

      

      นักวิจัยกลุ่มหนึ่งพบว่า ความสามารถในการสรุปความเห็น (Inference) จากประโยค อาจผิดเพี้ยน (Mar) ไปเมื่ออีกงานหนึ่ง (Task) ต้องประมวลประโยคที่ซับซ้อนในเวลาเดียวกัน (Concurrent) นักวิจัยอีกกลุ่มหนึ่ง แสดงให้เห็นว่า ผู้ร่วมวิจัยสูงวัย มักด้อยความสามารถ (Disadvantaged) ในงานการรับรู้ (Recognition task) เมื่อเขาต้องรวบรวม (Integrate) ข้อเท็จจริงที่สะสม (Glean) จากเรื่องราวต่างๆ เพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง

      ยังมีนักวิจัยอีกคนหนึ่งที่ทดสอบความทรงจำงานร้อยแก้ว (Prose) 3 ประเภท อันได้แก่ (1) ความทรงจำ “บรรทัดฐาน” (Standard) กล่าวคือการอธิบายในตัวเอง (Self-explanatory) (2) ความทรงจำ “ยุ่งเหยิง” (Scrambled) กล่าวคือ ประโยคที่ไม่มีการเชื่อมโยงอย่างสอดคล้อง (Coherent link) และ (3) ความทรงจำ “แทรกสลับ” (Interleaved) กล่าวคือ เรื่องราว 2 เรื่องหรือมากกว่า สลับกัน (Alternate) ประโยคต่อประโยค

      ผลปรากฏว่า ผู้ร่วมวิจัยทั้งสูงวัยและเยาว์วัย ผ่านการทดสอบเนื้อหาที่เป็น “บรรทัดฐาน” และ “ยุ่งเหยิง” เหมือนกันในเชิงคุณภาพ แต่ผู้ร่วมวิจัยเยาว์วัยมีขีดความสามารถในการประมวลเพียงพอ (Sufficient processing capacity) ที่จะคลายความยุ่งเหยิง (Untangle) ในร้อยแก้วที่ “แทรกสลับ” ในขณะที่ผู้ร่วมวิจัยสูงวัย ไม่สามารถทำสิ่งนี้ได้

      เรามีแนวโน้ม (Tempting) ที่จะสันนิษฐาน (Ascribe) ว่า การเปลี่ยนแปลงข้างต้นนั้น เป็นการเสื่อมถอยของทักษะความทรงจำ (Memory skill) ของผู้สูงวัย และก็เป็นยอมรับกันว่า ภายใต้บางสถานการณ์ (Circumstances) ความแตกต่างของอายุในเรื่องความทรงจำ ดูเหมือนจะมีบทบาทสำคัญอย่างแท้จริง

      นักวิจัยทดสอบผู้เข้าร่วมวิจัย 3 กลุ่ม กลุ่มแรกอายุ 18 – 30 ปี กลุ่มที่ 2 อายุ 60 – 75 ปี และกลุ่มที่ 3 อายุ 75+ ปี บนพื้นฐานของมาตรวัด (Measure) ความแตกต่างกัน รวมทั้งความเข้าใจว่า กระบวนการความเข้าใจ (Meta-comprehension) และความทรงจำปฏิบัติงาน (Working memory) ทำงานอย่างไร

      ผลปรากฏว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยทุกคน แสดงระดับที่เท่าเทียมกัน (Equivalent) ของความเข้าใจในเนื้อหา เมื่อมันอยู่ในรูปแบบของการบอกเล่า (Narrative format) อาทิ X เกิดขึ้นก่อน แล้วตามด้วย Y อย่างไรก็ตาม เมื่อใช้เนื้อหาที่ตั้งใจให้อธิบาย (Expository) และนำเสนอข้อเท็จจริง พร้อมด้วยข้อโต้แย้งที่ไม่จำเป็นต้องเรียงตามลำดับเวลา (Chronological) มานำเสนอ จะพบความแตกต่างในเรื่องอายุอย่างมีนัยสำคัญ

      นักวิจัยคนหนึ่งทบทวนการศึกษาของตนเองและผู้อื่น แล้วพบว่า ปริมาณ (Quantity) ของข้อมูลที่ระลึกได้ (Recall) ผันแปรโดยตรงกับความซับซ้อนของประโยค (Syntactic complexity) ในข้อความที่ควรจดจำ (To-be-remembered passage) ซึ่งเป็นประจักษ์หลักฐานที่ไม่น่าประหลาดใจนัก

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Language comprehension in old age https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/0010028579900197 [2018, February 20].