จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 147 : ความเข้าใจเรื่องราว (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-147

      

      การเร่งความเร็วในการพูด (Sped-up speech) มักทำให้คุณภาพความเข้าใจภาษา (Comprehension) ในผู้สูงวัยลดลง (Degrade) อาทิ ผู้ทดลอง (Experimenter) ได้ขึ้นระดับเสียง (Rise in pitch) หรือเอาบางส่วนของประโยคออก (Segment removal) เพื่อพูดให้สั้นลง แต่ยังคงระดับเสียงเหมือนเดิม

      จากการทดลองนี้ นักวิจัยพบว่า หากได้รับการเร่งให้เร็วขึ้น แต่ปราศจากการบิดพลิ้วอย่างจงใจ (Artificially distort) ในเรื่องคุณภาพของเสียง (Acoustic) จะไม่มีความแตกต่างตามอายุในเรื่องความเข้าใจในภาษา นี่บอกเป็นนัย (Imply) ว่า ปัญหาสำคัญอยู่ที่การประมวลการได้ยิน (Auditory processing) มากกว่าการรับรู้ (Cognitive) ที่ช้าลง [ตามอายุที่สูงขึ้น]

      การปรับความเร็วที่แปรเปลี่ยน (Varying) ของการนำเสนอ (Presentation) เรื่องราวที่เขียน (Written story) ให้ผลลัพธ์คละกัน (Yield mixed result) เมื่อผู้เข้าร่วมวิจัย (Participant) มีอิสระในการอ่านตามความเร็วของตนเอง จะรายงาน (Report) ความไม่แตกต่างตามอายุ แต่ก็มีข้อยกเว้นเหมือนกัน

      ความพยายามในการแทรกแซง (Manipulate) การนำเสนอเป็นเรื่องราวโดยตัวมันเอง ก็พบผลลัพธ์ที่แปรปรวน (Variable) การเปลี่ยนแปลง (Alteration) บางครั้งไม่มีผลกระทบ (Effect) ใดๆ ตัวอย่างเช่น การให้ผู้เข้าร่วมวิจัยอ่านเสียงดัง เปรียบเทียบ (Versus) กับการอ่านเงียบๆ ไม่มีผลกระทบต่อปริมาณของข้อมูล (Information quantity) ที่ระลึกได้ (Recall) หรือต่อเนื้อหาที่เลือกอ่าน (Choice of subject matter)

      นักวิจัยยังพบอีกว่า ผู้ใหญ่สูงวัยจะด้อยกว่าผู้ใหญ่เยาว์วัยอย่างมีนัยยะสำคัญ (Significant) ในเรื่องความเร็วและความแม่นยำ (Accuracy) ในงาน (Task) ที่ต้องอาศัยความเข้าใจ เมื่อเป็นประโยคปฏิเสธ (Negative) ตัวอย่างเช่น “เขาไม่ได้ทำ” (He did not do it) เปรียบกับ “เขาได้ทำ” (He did do it)

      ในภาพรวม ผู้ใหญ่เยาว์วัยทำคะแนนทดสอบในเรื่องความเข้าใจได้สูงกว่าผู้ใหญ่สูงวัย แต่ทั้งสองกลุ่มอายุค่อนข้างได้รับผลกระทบ (Relatively affect) จากประโยคปฏิเสธในขอบเขต (Extent) เดียวกัน การแทรกแซงอย่างอื่นในเนื้อหาที่จะอ่าน (To-be-read) ก็มีผลกระทบเช่นกัน

      ตัวอย่างเช่น นักวิจัยให้ผู้เข้าร่วมวิจัยอ่านข้อความสั้นของร้อยแก้ว (Prose) แล้วพบว่า การกระจาย (Intersperse) ประโยคด้วยชุดแบบตัวอักขระ (Font) ที่แตกต่างกัน เป็นส่วนที่ทำให้ผู้อ่านวอกแวก (Distract) แม้ว่าผู้เข้าร่วมวิจัยได้รับการบอกให้เพิกเฉย (Ignore) ต่อชุดแบบตัวอักขระก็ตาม

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Language comprehension in old agehttps://www.sciencedirect.com/science/article/pii/0010028579900197 [2018, February 6].