จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 146 : ความเข้าใจการเล่าเรื่อง (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-146

      

      นี่ไม่จำเป็นต้องแสดงถึงความเหนือกว่า (Superiority) ของผู้สูงวัยเมื่อเปรียบเทียบกับเด็กในเงื่อนไขของผู้ฟัง แต่การทำให้ง่ายขึ้นและการเพิ่มรายละเอียด (Elaborate) อาจทดแทน (Represent) ระดับความแตกต่างของการรับรู้ในทางปฏิบัติ (Pragmatic awareness) มากกว่าความเหนือกว่าของการรับรู้ (Cognitive)

      อย่างไรก็ตาม นักวิจัยชี้แจงว่า ในบริบททางสังคม (Social context) อาจมีตัวแปรปะปนกันอยู่ (Confounding variable) ซึ่งมีนัยสำคัญในเชิงวิจัย ดังนั้นนักวิจัยจึงควรระมัดระวังในทางเลือก (Choice) ของผู้ฟัง เมื่อผู้เข้าร่วมวิจัยกำลังระลึกถึง (Recall) เรื่องราวที่เล่าต่อ

      ในส่วนที่สัมพันธ์กับเรื่องนี้ อาจมีผลกระทบของเพื่อนร่วมรุ่น (Cohort) ในหลากหลายการศึกษา เมื่อนักวิจัยสังเกตจากฐานของประชากรที่กว้างขึ้น (Broader demographic base) โดยอาศัยกลุ่มผู้ใหญ่เยาว์วัยที่มิใช่นักศึกษา (Non-student) เปรียบเทียบ (Matched for) กลุ่มนักศึกษา ในเรื่องการระลึกได้ (Recall) ถึงเรื่องราวร้อยแก้ว (Prose recall)

      ปรากฏว่า กลุ่มนักศึกษาทำคะแนนทดสอบได้ดีกว่าผู้ใหญ่เยาว์วัยที่มิใช่นักศึกษา และดีกว่าผู้สูงวัย นี่หมายความ (Imply) ว่า ส่วนสำคัญ (Considerable part) ของความแตกต่างตามอายุ ในหลากหลายการศึกษาของการระลึกได้ในเรื่องราว และความเข้าใจในเรื่องเล่า อาจเกิดจาก (Attributable to) การใช้ผู้ใหญ่วัยเยาว์ ที่ไม่เพียงแตกต่างในอายุแต่ยังแตกต่างชนิดถอนรากถอนโคน (Radically different) ในเรื่องทักษะของเนื้อหาที่จดจำและแปลผล (Interpretation)

      ทางเลือก (Choice) ของการนำเสนอวัสดุ (Presentation of materials) ยิ่งมีผลกระทบที่ลึกซึ้ง (Profound) ต่อผลลัพธ์ (Outcome) มากกว่าการเลือกของผู้เข้าร่วมวิจัยเสียอีก และต้องยอมรับว่า ขั้นตอนปฏิบัติ (Procedure) ที่ดูเหมือนง่ายขึ้น อาทิ การตรวจสอบความเข้าใจหลังการทำให้เนื้อหาง่ายขึ้น อาจให้ผลลัพธ์ที่คลุมเครือ (Nebulous)

      ตัวอย่างเช่น การทำให้ข้อความร้อยแก้ว (Prose passage) เข้าใจง่ายขึ้น อาจทำได้โดยความคิดเห็นที่เป็นจิตวิสัย (Subjective opinion) จากนักเขียนที่มีประสบการณ์สูง อย่างไรก็ตาม มาตรวัดที่เป็นวัตถุวิสัย (Objective measure) อาทิ การทำให้ง่ายตามสูตรที่อ่านได้ (Readability formula) ก็อาจไม่มีผลกระทบที่มีนัยสำคัญต่อการระลึกได้

      นักวิจัยพบว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยที่สูงวัยทำคะแนนทดสอบได้แย่กว่าอย่างมีนัยสำคัญในการระลึกถึงวัสดุที่พูด มากกว่าวัสดุที่เขียน ในขณะที่ผู้เข้าร่วมวิจัยที่เป็นผู้ใหญ่เยาว์วัย แสดงผลอย่างไม่มีนัยสำคัญ นักวิจัยยังพบว่า ผู้สูงวัยที่สูญเสียการฟัง (Hearing loss) สามารถตอบคำถามความเข้าใจในข้อความที่ได้ยิน (Auditory) ได้ดี แม้จะซ่อนเร้น (Latency) ด้วยคำพูดที่ค่อยลง (Quieter) และเชื่องช้า (Longer) โดยใช้ข้อความที่ซับซ้อนขึ้น แต่วรรณกรรมวิจัยก่อนหน้านี้ รายงานความเข้าใจคำพูด (Speech) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในผู้สูงวัย เมื่อความเร็วในการพูด ได้ถูกเร่งให้เร็วขึ้นเกินความจริง (Artificially increase)

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Language comprehension in old agehttps://www.sciencedirect.com/science/article/pii/0010028579900197 [2018, January 30].