จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 145 : ความเข้าใจการเล่าเรื่อง (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-145

      นโยบายจัดสรรปันส่วน (Allocation policy) สอดคล้องกับทั้งงาน (Task) และเวลา (Time) ในโลกแห่งความเป็นจริง ผู้สูงวัยตัดสูท (Suit) ไปตามผ้าที่มีอยู่ ผู้เข้าร่วมวิจัย (Participant) ที่มีช่วงความทรงจำใช้งาน (Working memory span) ที่ต่ำ มักต้องจัดสรรปันส่วนทรัพยากรไปให้มาขึ้นในการประมวลคำ (Word processing) เพื่อทำความเข้าใจความหมายของคำ

      ในทำนองเดียวกัน ผู้มีควาสามารถทางวาจา (Verbal ability) สูง มักต้องหันเห (Divert) ทรัพยากรมากกว่าในการประมวลความหมายของเนื้อหา (Text) ตัวอย่างของนโยบายจัดสรรปันส่วนยังเห็นได้ชัด จากงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่ง ที่นักวิจัยได้ทดสอบในเด็ก, ผู้ใหญ่เยาว์วัย, และผู้สูงวัย ในมาตรการต่อเนื่อง (Series of measures) ของการอ่านโดยทั่วไป

      มาตรการดังกล่าววัดผลด้วยการรับรู้คำ (Word recognition) การสะกด ทักษะการประมวลเสียง (Phonological) อาทิ การค้นหา (Identify) เหตุผลว่า ทำไมคำ 2 คำ จึงมีเสียงคล้ายกัน (Similar) เนื่องจากใช้ “หน่วยพื้นฐานของเสียง” (Phoneme) ร่วมกัน ตลอดจนการวัดผลด้วยปัญญาไหล (Fluid intelligence) และปัญญาผลึก (Crystallized intelligence)

      นักวิจัยพบว่า ในเด็กและในผู้ใหญ่เยาว์วัย การอ่านและการสะกด อาจพยากรณ์ได้ดีที่สุดด้วยผลการทดสอบเสียง อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการอ่านและการสะกดในผู้สูงวัย อาจพยากรณ์ได้ดีที่สุดด้วยปัญญาไหลและอายุจริง (Chronological age) การค้นพบ (Findings) เหล่านี้ แสดงว่าเมื่อเราแก่ตัวลง จะมีการเปลี่ยนแปลงมาก (Considerable shift) ในการที่เราต้องอาศัยทักษะย่อยเฉพาะ (Specific sub-skills) ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอ่านและการสะกด

      อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างระหว่างบุคคลในความสามารถของการอ่านและการสะกด มีผลกระทบที่แตกต่างกันตลอดช่วงชั่วอายุ (Life span) ผลจากงานวิจัย แสดงการเปรียบเทียบในบรรดาผู้สามารถสะกดได้ดี ไม่พบความแตกต่างในผลทดสอบของผู้ใหญ่เยาว์วัยกับผู้สูงวัย

      แต่ ในบรรดาผู้สะกดไม่ได้ดี (Poor speller) ผู้สูงวัยได้ผลทดสอบที่แย่กว่าอย่างมีนัยสำคัญ (Significantly poorer) ณ ช่วง (Range) ของทักษะที่สัมพันธ์กับการสะกด การค้นพบนี้ แสดง (Indicate) ว่า การเปลี่ยนแปลงของชราภาพ มีผลกระทบต่อการสะกด และเป็นปัจจัยหลัก (Considerable) สำหรับความแตกต่างระหว่างบุคคล

      การเลือกผู้ฟังที่ตั้งใจ (Intended listener) อาจสร้างความแตกต่างได้เช่นกัน นักวิจัยได้มอบหมายงานให้สตรีสูงวัยและเยาว์วัย ในการจดจำเรื่องราว (Story) ที่ต้องการให้เล่าซ้ำ (Repeat) แก่เด็กหรือผู้ใหญ่อื่น ผู้เข้าร่วมวิจัยสตรีสูงวัยได้เล่าเรื่องในลักษณะที่ง่ายขึ้น (Simplified) และลงรายละเอียด (Elaborate) ในจุดสำคัญ เมื่อเล่าเรื่องต่อให้เด็กฟัง แต่เมื่อผู้ฟังเป็นผู้ใหญ่ การเล่าเรื่องต่อ (Re-telling) ก็ทันสมัยขึ้น (Sophisticated) สตรีเยาว์วัยสร้างผลงานเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญ (Significantly higher proportion) ในการนำเสนอ (Proposition) จากเรื่องเดิมต้นกำเนิด (Original story)

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Language comprehension in old agehttps://www.sciencedirect.com/science/article/pii/0010028579900197 [2018, January 23].