จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 144 : ความเข้าใจการเล่าเรื่อง (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-144

กระบวนทัศน์ (Paradigm) ของความเข้าใจการเล่าเรื่อง (Story comprehension) ขั้นพื้นฐาน เป็นเรื่องง่าย ผู้เข้าร่วมวิจัย (Participant) ฟัง หรืออ่านข้อความสั้นของเนื้อหา (ตามปรกติประมาณ 300 – 400 คำ) แล้วก็ทำซ้ำย้อนกลับ (Repeat back) ครั้งแล้วครั้งเล่าเท่าที่เป็นไปได้ หรือให้ทดสอบการรับรู้เป็นปรนัย (Multiple choice)

การศึกษาส่วนใหญ่ ได้แสดงให้เห็นว่า ผู้สูงวัยสามารถจดจำได้น้อยลงในการศึกษาทั้งห้วงเวลาเดียวกัน (Cross-sectional) และข้ามห้วงเวลา (Longitudinal) พบว่า ไม่อาจสรุปผลจนที่ยอมรับกันไปทั่ว (Universal truth) และพบความแตกต่างในประเภทผู้เข้าร่วมวิจัย และ/หรือ วัสดุที่ใช้ในการทดลอง (Test materials)

การศึกษาโดยใช้ผู้ข้าร่วมวิจัยที่มีอายุช่วง 60 ปี มักไม่พบความแตกต่างจากผู้ใหญ่เยาว์วัย (Young adult) แต่พบความแตกต่างอย่างเชื่อถือได้ในผู้ที่มีอายุช่วง 75 ปี ขึ้นไป ผู้เข้าร่วมวิจัยที่มีความสามารถทางวาจา (Verbal ability) สูง โดยทั่วไปไม่พบความแตกต่างเนื่องจากอายุ

ในประสบการณ์ที่ซับซ้อนขึ้น [ไปอีกระดับหนึ่ง] ผู้เข้าร่วมวิจัยอ่านข้อความ (Text) ซึ่งมีบางส่วนเกี่ยวข้องกับการปรุงอาหาร (Cookery) ผู้อ่านที่มีความเชี่ยวชาญ (Expertise) ในการปรุงอาหารอยู่แล้ว จะสามารถถอดรหัส (Encode) [กล่าวคือ ตอบคำถาม] และจดจำรายการ (Item) ที่สัมพันธ์กับการปรุงอาหาร ได้ดีกว่าผู้ไม่มีความรู้ในการปรุงอาหารเลย ซึ่งเป็นการค้นพบที่ไม่น่าประหลาดใจ แต่อายุของผู้ร่วมวิจัยมิได้มีผลกระทบต่อปรากฏการณ์นี้

ในงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งโดยนักวิจัยคนเดียวกันที่ทดลองกับผู้เข้าร่วมวิจัยที่แตกต่างกันในอายุและระดับความรู้ในการปรุงอาหาร เธอวัดผล “ประสิทธิภาพในการอ่าน” (Reading efficiency) จากนิยามที่ว่า เวลาที่ใช้ไปในการอ่าน หารด้วยจำนวนข้อมูลที่ระลึกได้ (Recall) จากแต่ละข้อความที่อ่าน

ผลปรากฏว่า ในการอ่านข้อความร้อยแก้ว (Prose passage) เกี่ยวกับการปรุงอาหาร ประสิทธิภาพในการอ่านในผู้ใหญ่เยาว์วัย ไม่ได้รับผลกระทบจากการมีความรู้เรื่องการปรุงอาหารมาก่อน แต่ในผู้สูงวัย ประสิทธิภาพการอ่านเพิ่มสูงขึ้นไปตามความรู้เรื่องการปรุงอาหาร

การเปรียบเทียบผลลัพธ์ (Analogous) พบว่า เมื่อผู้เข้าร่วมวิจัยได้รับการแยกประเภท (Classified) ตามความสามารถของความทรงจำใช้งาน (Working memory) จะพบความแตกต่าง กล่าวคือผู้ที่มีระดับความทรงจำใช้งานสูง จะไม่ได้รับผลกระทบจากความรู้เรื่องการปรุงอาหาร ในขณะที่ผู้มีระดับความทรงจำใช้งานต่ำ จะทำคะแนนทดสอบได้ดีกว่า ถ้าเขาเหล่านั้นมีความรู้ดีเรื่องการปรุงอาหารมาก่อน สิ่งนี้ก็เป็นประจักษ์หลักฐานของกลยุทธ์ชดเชย (Compensatory strategy) ที่เรียกันว่า “นโยบายจัดสรรปันส่วน” (Allocation policy) ในแวดวงงานวิจัยด้านการอ่าน (Reading research)

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Language comprehension in old age https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/0010028579900197 [2018, January 16].