จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 142 : การประมวลลักษณะประโยค (4)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-142

เมื่อผู้บันทึกรายวัน (Diary) แก่ตัวลง อาจมีแรงจูงใจที่ลดลงในการเขียนเป็นเรื่องราว หรืออาจมีเหตุการณ์น้อยลงที่จูงใจให้เขาบรรจง (Elaborate) เขียนเป็นบทประพันธ์ร้อยแก้ว (Prose) เมื่อเวลาผ่านพ้นไป ความพยายามที่จะเขียนอย่างสร้างสรรค์ อาจทำให้นักเขียนรู้สึกอึดอัดใจ (Embarrassed) มากจนเขาต้องตัดสินใจอาศัยวิถีที่มีสีสัน (Florid style) น้อยลง

นอกจากนี้ จุดมุ่งหมายของการบันทึกรายวัน (Journal) อาจเปลี่ยนไปในระยะยาว และกลายเป็นวิธีการเป็นตัวของตัวเอง (Empowerment) มากขึ้น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในการหยั่งรู้ตนเอง (Self-perception) อาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิถีการเขียน จึงอาจเป็นกรณีที่นักเขียนเริ่มแก่ตัวลง แล้วมีทัศนคติในวิถีการเขียนที่ไม่เข้มงวด (Relaxed) [เหมือนแต่ก่อน]

ผลลัพธ์คือ วิถีการเขียนที่เรียบง่ายขึ้นอันเป็นที่ยอมรับซึ่งได้แตร่ตรองไว้ก่อน (Deliberately adopted) อันที่จริง นักวิจัยสามารถค้นหา (Identify) ความแตกต่างจากเพื่อนร่วมรุ่น (Cohort) แม้ภายในกลุ่มตัวอย่างที่มีไม่มาก แต่นักเขียนที่เกิดก่อนหน้านั้น [ผู้สูงวัย] มักใช้อนุประโยคทีมีกริยานำหน้า (อาทิ To go และ To do) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มนักเขียนเยาว์วัย

แต่การวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ ก็สนับสนุนข้อโต้แย้งที่ว่า การเปลี่ยนแปลงการเขียน สะท้อนถึงความเสื่อมถอยในความสามารถ มากกว่าการเปลี่ยนแปลงวิถีการเขียน (Stylistic shift) ตัวอย่างเช่น การศึกษาอย่างแยบยล (Ingenious) ของจดหมายของพระเจ้าเจมส์ (James) ที่ 6 [ของสก๊อตแลนด์ หรือ ที่ 1 ของอังกฤษเมื่อรวมตัวกับสก๊อตแลนด์] แสดง (Demonstrate) ผลดังนี้

การเสื่อมถอยที่สัมพันธ์กับการรับรู้ (Cognitive) อาจมีสหสัมพันธ์กับการเจ็บป่วยระยะสั้น (Bout of sickness) ที่ได้รับการบันทึกอย่างดี (Well-documented) ทำให้เราสามารถคาดเดาอย่างมีเหตุผล (Reasonably assumed) ว่า ชราภาพมีผลกระทบต่อสติปัญญาที่เลวร้ายลง (Deleterious) ของกษัตริย์ในเวลานั้น [พระเจ้าเจมส์ที่ 6/1]

ในรูปแบบที่อาจน่าเบื่อ (Prosaic format) เล็กน้อย กลุ่มนักวิจัย ทำการศึกษาข้ามช่วงเวลา (Longitudinal) สำหรับการเขียนของอาสาสมัครสูงอายุ มีการเก็บตัวอย่างรายปี (Annual sample) ของภาษาและการบริหาร (Administered) แบบทดสอบการรับรู้ แสดงผลว่า (1) การเสื่อมถอยที่สัมพันธ์กับอายุ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลัง 75 ปี) ในความซับซ้อนของไวยากรณ์ (Grammatically complexity) และเนื้อหาที่นำเสนอ (Propositional content) ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงการเปลี่ยนแปลงการรับรู้ (2) ความซับซ้อนของไวยากรณ์เชื่อมโยงกับความทรงจำใช้งาน (Working memory) (3) ความยาวของประโยคเชื่อมโยงกับระดับสติปัญญา และ (4) การประมวลลักษณะประโยค (Syntactical) ซับซ้อนมีสหสัมพันธ์กับผลจากความทรงจำใช้งาน ณ ระดับการอ่านเนื้อหาออนไลน์ (On-line) และออฟไลน์ (Off-line) ของความเข้าใจเนื้อหา (Text comprehension) ดังนั้น ผลกระทบจากวิถี (Stylistic) และเพื่อนร่วมรุ่น (Cohort) จะอธิบายบางส่วนของการเปลี่ยนแปลงลักษณะประโยคในเวลาต่อมาของชีวิต แต่ปัจจัยสำคัญ (Principal factor) ดูเหมือนจะเป็นการเสื่อมถอยลงโดยทั่วไปของสติปัญญาตามอายุ [ที่สูงขึ้น]

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Semantic processinghttps://en.wikipedia.org/wiki/Semantic_processing [2018, January 2].