จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 141 : การประมวลลักษณะประโยค (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-141

นักวิจัยพบว่า เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ใหญ่เยาว์วัย ผู้สูงวัยที่เข้าร่วมวิจัยซึ่งสรุปเรื่องราว (Story) ต่างๆ เป็นลายลักษณ์อักษร มีแนวโน้มที่จะแปรผล (Interpret) เนื้อหา (Text) เป็นระดับนามธรรม (Abstract) มากกว่า และให้น้ำหนัก (Emphasis) แก่บทคัดย่อ (Precis) ของโครงสร้างเรื่องราว

ความแตกต่างในเชิงคุณภาพ (Qualitative) นี้ อาจเกิดจาก (Arise) การสูญเสียขีดความสามารถในประมวลผล ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้สูงวัยไม่สามารถจดจำเรื่องราวได้มาก การพูดถึงมันในลักษณะนามธรรม อาจเป็นทางเลือกที่ชาญฉลาด (Wise option)

ผู้สูงอายุอาจใช้กลยุทธ์สาธยาย (Discourse strategy) เป็นอุบายขจัดความบกพร่อง (Deficiency) และข้อขัดแย้ง (Discrepancy) ในทักษะประมวลลักษณะประโยค (Syntactic processing) ของเขา ผู้วิจัยยังพบว่า ในการเล่าเรื่อง (Narrative) ผู้สูงวัยมีแนวโน้มที่จะให้นำหนักแก่ด้าน (Aspect) อารมณ์หวั่นไหวที่เป็นบวกในท้องเรื่อง

นักวิจัยตรวจสอบบันทึกรายวัน (Diary) 6 ฉบับเขียนโดยผู้คนตลอดช่วงอายุ (Life-span) ของผู้ใหญ่ที่ได้จากห้องเก็บเอกสารเก่า (Archive) ในพิพิธภัณฑ์ เริ่มต้นด้วยช่วง ค.ศ. 1856 – 1876 และสิ้นสุดช่วง ค.ศ. 1943 – 1957 แล้วพบว่า ภาษาที่ใช้ง่ายขึ้นไปตามอายุที่สูงขึ้น ความยาวของประโยคและความซับซ้อนของวากยสัมพันธ์หรือลักษณะประโยค (Syntax) ก็สั้นลง

ตัวอย่างเช่น จำนวนอนุประโยคฝัง (Embedded clause) [ในประโยคใหญ่] และการอ้างถึงสิ่งที่เอ่ยซ้ำ (Anaphoric reference) [อาทิ การใช้คำว่า “เขา” อีกครั้งหนึ่ง โดยไม่ระบุเพียงพอว่าหมายถึงคนไหนใน 2 คน ที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้] ก็น้อยงลง

ในขณะเดียวกัน การอ้างเหตุผลผิดๆ (Sophistication) ของการเล่าเรื่อง ก็ลดลงด้วย นานาเหตุการณ์ก็ได้รับการอธิบายไว้เป็นบันทึกของข้อเท็จจริง (Catalog of facts) มากกว่าเป็นเรื่องเล่าที่มีเค้าโครงเรื่อง (Plot) และบทสรุป

ในอีกการศึกษาหนึ่ง นักวิจัยให้ผู้เข้าร่วมวิจัย อายุระหว่าง 20 ปี ถึง 86 ปี เขียนอธิบายถึงตนเอง หลังการวิเคราะห์ เขาพบว่า ความซับซ้อนของลักษณะประโยค (Syntactic complexity) และความกว้างของศัพทานุกรม (Breadth of vocabulary) ที่แสดงออก (Exhibit) เป็นลายลักษณ์อักษร มีความสัมพันธ์กับอายุ

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยอื่นๆ อาทิ ความยาวของคำ และความเชื่อถือได้ (Reliability) ได้รับผลกระทบจากระดับการศึกษาและระดับศัพทานุกรมของผู้เข้าร่วมวิจัย แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ปัญญาไหล (Fluid intelligence) ไม่ได้มีบทบาทอย่างมีนัยสำคัญเลย และมีเหตุผลอื่นๆ ที่จะโต้แย้งว่า การเสื่อมถอยในการเขียนไม่สามารถเกิดจากการเสื่อมถอยทางสติปัญญาโดยอัตโนมัติ ใครที่เคยบันทึกรายวัน (Diary) สักช่วงเวลาหนึ่ง จะรู้ว่าการเขียนอาจเป็นงานที่น่าเบื่อ (Chore) ไม่น้อยเลย

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Semantic processinghttps://en.wikipedia.org/wiki/Semantic_processing [2017, December 19].