จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 140 : การประมวลลักษณะประโยค (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-140

ในการสรุป (Wrap up) นั้น หากวลี (Phrase) มีความซับซ้อนมาก อัตราการอ่านก็ยิ่งชะลอลง เนื่องจากผู้อ่านพยายามประมวลวลีที่เพิ่งอ่านเสร็จ ซึ่งจะใช้เวลาในการประมวลมากขึ้นไปตามความซับซ้อน นักวิจัยตรวจสอบการเคลื่อนไหวของตา แล้วพบว่า ผู้สูงวัยแที่เข้าร่วมวิจัย ใช้การสรุปในรูปแบบที่กล่าวเกินความจริง (Exaggerated)

อย่างไรก็ตาม มาตรวัดผล (Measure) อื่นๆ ของการอ่าน (อาทิ การควบคุม [Regulate] เวลาการประมวลส่วนต่างๆ ของงานอ่าน) แสดงความแตกต่างตามอายุ ซึ่งสะท้อนว่า ผู้อ่านสูงวัยใช้การสรุปที่กล่าวเกินความจริงในการชดเชยปัจจัยอื่นๆ และนี่อาจเป็นเหตุผล (Plausible) อธิบายว่า ทำไมผู้สูงวัยพยายามทำให้วากยสัมพันธ์หรือลักษณะประโยค (Syntax) ง่ายขึ้น

ผู้สูงวัยรู้ว่าทักษะการรับรู้ (Cognitive skill) ของเขากำลังเสื่อมถอยลง จึงพยามยามทำให้ประโยคง่ายขึ้น (Simplified) สั้นขึ้น และใช้เวลามากขึ้นในการรับเมือกับสถานการณ์เช่นนี้

นักวิจัยให้ผู้เข้าร่วมวิจัยพูดบทประพันธ์ร้อยแก้วที่มีเนื้อหาและน้ำเสียง (Tone) อ่อนไหวตามอารมณ์ (Emotional content) เมื่ออ่านออกเสียงดัง ซึ่งอาจสอดคล้อง (Congruent) หรือไม่สอดคล้อง (Incongruent) กัน อาทิ เรื่องราวที่เป็นสุข อ่านด้วยเสียงที่แสดงความสุข เปรียบเทียบกับเรื่องราวที่เศร้าสร้อย แต่พยามยามอ่านด้วยเสียงที่เป็นสุข

นักวิจัยพบว่าผู้สูงวัยอ่านได้ค่อนข้างแย่ (Poor) ในเงื่อนไขที่ไม่สอดคล้องกัน แต่ถ้าให้เขาได้อ่านประโยคซ้ำกับที่เขาเคยได้ยินมาก่อนสนองตอบ (Respond) ความแตกต่างตามอายุในการอ่านก็จะถูกขจัดไป (Eliminated)

นักวิจัยได้ขอให้ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งสูงวัยและผู้ใหญ่เยาว์วัยคู่ที่แต่งงานแล้ว อธิบายการหยุดพักผ่อน (Vacation) ที่ผ่านมา แล้ววิเคราะห์คำอธิบายเนื้อหาทางภาษา (Linguistic content) พบว่า ผู้ใหญ่เยาว์วัยสร้าง (Produce) ปริมาณรายละเอียดได้มากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับผู้สูงวัย

ทีมนักวิจัยอธิบายว่า ผู้สูงวัยที่ด้อยกว่าในเรื่องนี้เกิดจาก (Attributed to) ความเสื่อมถอยในความทรงจำปฏิบัติงาน (Working memory) อย่างไรก็ตาม นักวิจัยก็ยอมรับ (Acknowledge) ว่า เป็นไปได้ที่การเปลี่ยนแปลง (Shift) ที่สัมพันธ์กับอายุนี้ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในทัศนคติ (Attitude) อาทิ ผู้ใหญ่เยาว์วัยให้ความสำคัญกับความบันเทิงน้อยกว่าผู้สูงวัย

นักวิจัยยังพบว่า ผู้ที่ใช้คำฟุ่มเฟือยที่เกินจากเป้าหมาย (Off¬¬¬-target verbosity) แสดงถึง (Indicative) ทักษะการประมวลที่ด้อยกว่าในการอธิบายให้ผู้ฟังอย่างถูกต้องแม่นยำ โดยเฉพาะการอธิบายภาพที่เป็นนามธรรม (Abstract figure) การศึกษาเพิ่มเติมของนักวิจัยทีมเดียวกันพบว่า การใช้ค่ำฟุ่มเฟือยที่เกินจากเป้าหมาย นำความพึงพอใจที่ด้อยกว่ามาสู่ผู้ฟัง แต่ในการศึกษาครั้งนั้น ก็พบว่า การใช้คำฟุ่มเฟือยเกินความจริงไม่สัมพันธ์กับอายุ หรือระดับการรับรู้ ซึ่งขัดแย้งกับผลการวิจัยก่อนหน้านี้

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Semantic processinghttps://en.wikipedia.org/wiki/Semantic_processing [2017, December 19].