จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 14 : พฤติกรรมทางเพศในวัยชรา (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

ทีมนักวิจัยของนายแพทย์จอร์จ เดวี่-สมิธ (George Davey-Smith) ได้กล่าวสรุปหลังการวิเคราะห์อัตราการตายของผู้ชายเกือบ 1,000 คน ที่มีอายุระหว่าง 45 ถึง 59 ปี ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งในเวลส์ (Wales) ว่า กิจกรรมทางเพศ (Sexual activity) ดูเหมือนจะมีผลกระทบที่ป้องกัน (Protective effect) สุขภาพของผู้ชาย

อันที่จริง จุดมุ่งหมายเดิมของทีมนักวิจัย คือการประเมินโรคหัวใจ (Heart disease) ในผู้ชาย เมื่อเริ่มศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 จนถึงปี พ.ศ. 2526 หลังจากอธิบายถึงจุดประสงค์ของการสอบถามแล้ว ทีมนักวิจัยก็ถามผู้เข้ารับการวิจัยถึงความถี่ (Frequency) ของกิจกรรมทางเพศ

คำตอบที่ได้รับถูกแยกประเภทตั้งแต่ “ไม่เคย” จนถึง “ทุกวัน” ชื่อของผู้เข้ารับการวิจัยจะถูกบันทึก (Flagged) ไว้ อยู่ในหน่วยทะเบียนกลาง (Central Registry) ของบริการสุขภาพแห่งชาติ ประเทศอังกฤษ (British National Health Service) แล้วจะมีการแจ้งให้ทีมนักวิจัยทราบ โดยอัตโนมัติทันทีที่ผู้มีรายชื่ออยู่ในทะเบียนถึงแก่กรรม

จากนั้น จะมีการวิเคราะห์การตาย 10 ปีหลังจากที่ผู้เข้ารับการวิจัย มีส่วนเข้าร่วมในโครงการ ปรากฏว่า ผู้ชายที่แจ้งว่ามีเพศสัมพันธ์สัปดาห์ละ 2 ครั้ง มีความเสี่ยงของการตาย เพียงครึ่งหนึ่งของผู้มีความพิศวาส (Passionate) ผ่านเพศสัมพันธ์เดือนละ 1 ครั้ง ทีมนักวิจัย ต้องมีการวิจัยมากขึ้นทั้งในชายและหญิง ก่อนที่จะยืนยันการค้นพบดังกล่าว

นอกจากนี้ยังมีนักวิทยาศาสตร์อีก 2 คนที่เตือน (Caution) ว่า เนื่องจากการออกแบบและการใช้แบบสำรวจ การศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ (Epidemiological) อาจไม่สามารถแยกแยะจำนวนปัจัยที่มีอิทธิพลในเชิงลบ (Advertently) ต่อการค้นพบ

ความเป็นไปได้อย่างหนึ่ง ก็คือความสัมพันธ์อาจตรงข้ามกัน (Reverse) กล่าวคือ ผู้ป่วย อาจมีแนวโน้มน้อยลงในการมีเพศสัมพันธ์ ตามความเห็นของนักวิพากษ์วิจารณ์ (Critic) ในประเด็นนี้ ทีมนักวิจัย แจ้งว่า เขาได้พยายามปรับ (Adjust) การออกแบบของการศึกษานี้ เพื่ออธิบายถึงปัจจัยทางด้านสุขภาพ

กล่าวคือ ผู้ชายแข็งแรงที่มีวิถีชีวิตสุขภาพที่ดี (Healthy life style) จะมีเพศสัมพันธ์บ่อยถี่ขึ้น แม้กระนั้น ทีมนักวิจัยก็ไม่สามารถอธิบายความแตกต่างในเรื่องความเสี่ยงได้ ผลกระทบของฮอร์โมน (Hormonal effect) ต่อร่างกาย อันเป็นผลมาจากการมีเพศสัมพันธ์ที่บ่อยถี่ อาจเป็นปัจจัยในการอธิบายการค้นพบนี้

ข้อดี (Advantage) ของการสำรวจในครั้งนี้ ก็คือการอธิบายสาเหตุที่ไม่คาดคิดมาก่อน ว่าทำไมผู้ชายจึงมีชีวิตอยู่ได้ยาวขึ้น (กล่าวคือ มีเพศสัมพันธ์บ่อยถี่ขึ้น) แต่ข้อเสีย (Disadvantage) ของการสำรวจในครั้งนี้ ก็คือ มันไม่สามารถค้นหาความสัมพันธ์ของเหตุและผล เพราะมีปัจจัยอื่นๆ (อาทิ ฮอร์โมน และวิถีชีวิต [Life style] ที่ต้องได้รับการพิจารณาด้วย

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Sexuality in older age - http://en.wikipedia.org/wiki/Sexuality_in_older_age [2015, July 21].