จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 137 : การประมวลความหมายคำ (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-137

ความรู้เกี่ยวกับความหมายของคำ (Word meaning) คือส่วนประกอบสำคัญ (Key component) ของมาตรวัดปัญญาผลึก (Crystallized intelligence) ซึ่งโดยทั่วไปไม่น่าจะได้รับผลกระทบจากชราภาพ เหมือนปัญญาไหล (Fluid intelligence) แต่ก็มีข้อยกเว้นที่ผู้สูงวัยเชื่องช้ากว่าในการก่อให้เกิด (Produce) การสนองตอบ

ตัวอย่างเช่น นักวิจัยขอให้ผู้เข้าร่วมวิจัยกำหนดนิยาม (Definition) ของคำที่ไม่คุ้นเคย ซึ่งอาจรวบรวม (Glean) จากบริบท (Context) ที่ได้รับการนำเสนอ แล้วพบว่า ผู้สูงวัยเก็บ (Pick up) ส่วนของข้อมูล (Piece of information) ในบริบทได้น้อยกว่า และก่อให้เกิดนิยามโดยทั่วไป (Generalized) ที่คลุมเครือ (Vague) กว่า เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ใหญ่เยาว์วัย

ในการทดลองครั้งที่ 2 ทีมนักวิจัยกำหนด 4 นิยามสำหรับแต่ละคำที่ไม่คุ้นเคย แล้วให้ผู้เข้าร่วมวิจัยเลือกนิยามที่ถูกต้อง โดยที่นิยามหนึ่งถูกต้องที่สุด (Rigorously correct) อีกนิยามหนึ่งโดยทั่วไปดูเหมือนจะไม่ผิด แต่คลุมเครือ ยังมีอีกนิยามหนึ่งที่เป็นการแปรผล (Interpretation) ของเรื่องราว (Story) และอีกนิยามหนึ่ง ไม่เกี่ยวข้องกันเลย

ปรากฏว่า ผู้ใหญ่วัยเยาว์เลือกคำตอบที่ถูกต้องตรงกับนิยาม ในขณะที่ผู้สูงวัย (อายุ 75 ปี หรือสูงกว่า) มีแนวโน้มที่จะเลือกนิยามโดยทั่วไป ในการศึกษาเพื่อติดตามผล นักวิจัยให้ผู้เข้าร่วมวิจัยอ่านข้อความของร้อยแก้ว (Passage of prose) ซึ่งประกบอด้วยคำที่ไม่คุ้นเคย

ในขณะที่อ่านข้อความดังกล่าว นักวิจัยขอให้ผู้เข้าร่วมวิจัยคิดดังๆ (Think loud) เกี่ยวกับสิ่งที่อ่าน แล้วให้คะแนนกลุ่มนิยามที่สืบเนื่อง (Derived) จากข้อความที่อ่านสำหรับความแม่นยำ นักวิจัยพบว่า ผู้สูงวัยที่เข้าร่วมวิจัยให้ (Produce) ความเห็นโดยทั่วไป (Generalized) เกี่ยวกับข้อความที่อ่าน ในขณะที่สามารถให้คะแนนนิยามทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องได้ดีกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ใหญ่เยาว์วัย

นักวิจัยสรุปว่า ผู้สูงวัยประสบปัญหาในการประมวลข้อมูลที่ค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งต้องอาศัยการสกัด (Extract) ความหมายจากบริบท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้สูงวัยไม่สามารถคิดในเชิงนามธรรม (Abstract) เพียงพอ จึงไม่สามารถสรุปอนุมาน (Inference) ได้อย่างเพียงพอ ซึ่งสะท้อนถึงผลงานของนักวิจัยอีกคนหนึ่งก่อนหน้านี้ ที่พบว่าผู้สูงวัยมีปัญหาในการให้นิยามของคำพูดและคำพังเพย (Proverb)

นอกจากนี้ ผู้สูงวัยยังใช้เวลายาวนานกว่าผู้ใหญ่เยาว์วัยอย่างมีนัยสำคัญ ในการแยกแยะ (Distinguish) ระหว่างคำอุปมาอุปไมย (Metaphor) กับข้อความที่ไม่เป็นจริง (Untrue) ซึ่งแสดงความสามารถที่ลดลงในการมองเห็นเกินกว่าโครงสร้างพื้นฐานเชิงสัญลักษณ์ (Underlying symbolic structure) ในทางประสารทวิทยา (Neurological) สาเหตุนี้เกิดจากการเสื่อมลง (Decline) ของการทำงานในสมองกลีบหน้า (Frontal lobe functioning)

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Semantic processinghttps://en.wikipedia.org/wiki/Semantic_processing [2017, November 28].