จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 135 : การสะกดคำ

จิตวิทยาผู้สูงวัย-135

การสะกดคำในเวลาต่อมาของชีวิต น่าจะประสบชะตากรรม (Fate) เดียวกับการรับรู้คำ เนื่องจากความรู้ในกฎเกณฑ์การสะกดคำเป็นทักษะของปัญญาผลึก (Crystallized intelligence) จึงควรปลอดพ้น (Immune) จากผลกระทบของชราภาพ อย่างไรก็ตาม มีประจักษ์หลักฐาน (Evidence) ว่า ความเข้าใจนี้ไม่เป็นจริงเสมอไป

โดยทั่วไป เมื่อผู้เข้าร่วมการวิจัยต้องตัดสินใจว่า คำนั้นคำนี้สะกดถูกต้องหรือไม่ มักไม่มีประเด็น แต่ก็มีข้อยกเว้นในจิตวิทยาชราภาพ (Psycho-gerontology) ตัวอย่างเช่น นักวิจัยสังเกตว่า ผู้สูงวัยที่เข้าร่วมวิจัยมีความคล่องแคล่ว (Adept) ในการค้นพบ (Detect) คำที่สะกดผิดในรายชื่อคำ (List of words) พอๆ กับผู้เยาว์วัยที่เข้าร่วมวิจัย

แต่ก็มีความแตกต่างระหว่างวัยในความสามารถในการกู้คืน (Retrieve) ของคำที่สะกดถูกและสะกดผิดจากความทรงจำ นักวิจัยพบว่า ผู้สูงวัยแต่ละคน (Solely) ที่ได้รับการรวมกลุ่มอายุตามทศวรรษ (Age decades) [กล่าวคือ 60 ปี 70 ปี และ 80 ปี] กลุ่มอายุ 70 ปี และ 80 ปี มีความเชื่องช้ากว่า และถูกต้องแม่นยำน้อยกว่า ในการค้นหาคำสะกดผิด เมื่ออ่านประโยคที่มีคำแสดงให้เห็นทีละคำ

โดยทั่วไป นักวิจัยได้สังเกตเห็นความเสื่อมถอยในวัยชรา เมื่อพิจารณาการสร้างคำ (Word production) ตัวอย่างเช่น นักวิจัยพบคำสะกดผิดเพิ่มขึ้นในเวลาต่อมาของชีวิต ความบกพร่อง (Deficit) ที่สัมพันธ์กับอายุเหล่านี้ มิได้เกิดโดยตรงจาก (Attributed to) การชะลอลงโดยทั่วไป จากปัญญาผลึก หรือจากระดับการศึกษา

นักวิจัยทีมหนึ่งยังค้นพบปัญญาไหล (Fluid intelligence) ว่า เป็นตัวพยากรณ์ (Predictor) ที่ดีของทักษะการสะกด ในขณะที่นักวิจัยอีกทีมหนึ่งเชื่อมโยงการเสื่อมถอยตามอายุขัยกับความบกพร่องเฉพาะของการประมวลภาษา (Specific linguistic coding deficit)

บางส่วนก็วินิจฉัย (Predicated) จากข้อสมมุติฐานความบกพร่องการส่งข้อมูล (Transmission deficit hypothesis) ซึ่งนักวิจัยอธิบายว่า แนวความคิดถูกเก็บไว้ (Stored) ในปุ่มที่เชื่อมโยงกัน (Interconnected node) แต่ชราภาพจะทำให้การเชื่อมโยงนี้ และกระตุ้นปุ่มเก็บแนวความคิด อ่อนแอลง แต่จะได้รับการชดเชย (Compensate) ด้วยการฝึกปรืออย่างสม่ำเสมอ และ/หรือการกระตุ้น (Stimulation) ที่รวดเร็ว (Prompt)

ดังนั้น นอกเหนือจากปัจจัยอื่นแล้ว ส่วนของข้อมูล (Piece of information) ใหม่ มีแนวโน้ม (Prone) ที่จะได้รับการประมวลอย่างไร้ประสิทธิภาพ (Inefficient processing) กว่าข้อมูลเก่า และการรับรู้ข้อมูลใหม่ก็ง่ายกว่าในการระลึกถึง (Recall) เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลเก่า นอกจากการรับรู้คำและความรู้เกี่ยวกับคำว่าสะกดอย่างไรแล้ว เราจำเป็นต้องรู้เรื่องการออกเสียงคำ (Pronunciation) ที่ถูกต้อง และรู้ว่า คำมีความหมาย (Semantic) ว่าอะไร?

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Influences of Word Frequency, Context, and Age on Spellinghttps://people.clas.ufl.edu/abrams/files/abrams_white_10.pdf [2017, November 14].