จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 133 : การรับรู้คำ (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-133

นักวิจัยพบประจักษ์หลักฐาน (Evidence) ของการปราศจากความแตกต่างระหว่างอายุ ณ ระดับแกนกลาง (Central) จากรูปแบบของการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalography : EEG) ในการรับรู้ของการตัดสินใจคำศัพท์เฉพาะ (Lexical decision) แม้จะมีความแตกต่างกันบ้าง เมื่อพบเห็นคำก่อนหน้านี้ แต่เป็นเรื่องของความทรงจำมากกว่าผลกระทบของการรับรู้

นักวิจัยอีกทีมหนึ่งพบในงานการแอบแฝงชื่อ (Naming latency) ว่า ผู้สูงวัยใช้ข้อมูลความถี่ของคำ (Word frequency) มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่ผู้ใหญ่วัยเยาว์ใช้คุณลักษณะการสะกด (Orthographic feature) ของคำ) มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ แต่บทสรุปก็คือ การเปลี่ยนแปลง (Shift) ที่สัมพันธ์กับอายุ อาศัยคุณลักษณะภายใน (Within) คำเป็นหลัก (Primary) มากกว่าคุณลักษณะของคำมันเอง (Word itself)

โดยทั่วไป เมื่อการรับรู้การตัดสินใจคำศัพท์เฉพาะมีความยุ่งยากมากขึ้น ขนาด (Size) ของความแตกต่างตามอายุ ก็จะใหญ่ขึ้นไปด้วย นักวิจัยพบว่าปรากฏการณ์โดยทั่วไป (General phenomenon) สามารถอธิบายได้ด้วยข้อสมมุติฐานโดยทั่วไปของการชะลอลง (Slowing hypothesis)

นักวิจัยใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน (Complex mathematical technique) ในการคำนวณ แล้วพบว่า ส่วนประกอบ (Component) ของการสนองตอบ (Response) ที่สัมพันธ์กับกระบวนการขายขอบ (Peripheral process) ได้รับผลกระทบจากอายุอย่างมีนัยสำคัญ แต่ส่วนที่สัมพันธ์กับกระบวนการแกนกลาง (Central process) มักไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากอายุ

ในการศึกษาการรับรู้การตัดสินใจคำศัพท์เฉพาะ ผู้เข้าร่วมการวิจัยได้รับมอบหมายให้ใช้คำที่ได้รับการพิมพ์แบบดั้งเดิม (Conventional) ด้วยตัวอักษรเล็ก-ใหญ่ (Case) เดียวกัน (อาทิ same case หรือ SAME CASE) หรือที่ผสมกัน (อาทิ MiXed CaSe) และในกรณี (Instance) เดียวกันอาจพิมพ์ด้วยสีเดียว หรือหลายสี

เราสามารถพยากรณ์ (Predict) ได้เลยว่า การพิมพ์แบบดั้งเดิม จะได้รับการประมวลผลที่เร็วกว่า เนื่องจากจิตใจคนเราสามารถประมวลผลในองค์รวม (Holistically) กล่าวคือในขั้นพื้นฐาน คำศัพท์จะได้รับการประมวลด้วยรูปร่าง (Shape) และโครงร่าง (Outline) ที่ไม่ค่อยจะอาศัยวิธีการที่ใช้แรงงานมาก (Laborious) ในการอ่านอักษรทีละตัว (Letter by letter)

ในทางตรงกันข้าม อักษรเล็ก-ใหญ่ ที่ผสมกัน จะแสดงโครงร่างที่ผิดปรกติ ซึ่งไม่สามารถประมวลผลในองค์รวม แต่ต้องได้รับการประมวลผลเชิงวิเคราะห์ (Analytically) กล่าวคือทีละตัวอักษร จึงสามารถพยากรณ์ได้ว่า การประมวลผลการผสมตัวอักษรเล็ก-ใหญ่ จะทำได้ช้ากว่า และการใช้สีที่แตกต่างกัน อาจไม่มีผลกระทบในการประมวลผลของคำในองค์รวม แต่จะเร่การประมวลผลผสมอักษรเล็ก-ใหญ่ เนื่องจากเราสามารถแยกแยะ (Distinguish) ระหว่างคำได้ง่ายกว่า

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Word recognition https://en.wikipedia.org/wiki/Word_recognition [2017, October 31].