จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 132 : การรับรู้คำ (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-132

มีหนทางหลากหลาย (Variety) ที่จะทดสอบความสามารถในการอ่านคำเดียว (Single word) แต่มีการรับรู้ 2 อย่างที่สามัญที่สุด (Commonest) (1) การตัดสินใจคำศัพท์เฉพาะ (Lexical decision) และ (2) การแอบแฝงชื่อ (Naming latency) การรับรู้อย่างแรก ต้องการให้ผู้เข้าร่วมวิจัยตัดสินใจเกี่ยวกับกลุ่มอักษร (Letter) ที่รวมตัวเป็นคำ โดยที่ผู้เข้าร่วมวิจัยไม่ต้องค้นหา ว่า คำนั้นพูดว่าอะไร? ส่วนการรับรู้อย่างหลัง ต้องการวัดผลว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยสามารถอ่านคำด้วยเสียงดังอย่างรวดเร็วได้อย่างไร?

โดยทั่วไป ผู้สูงวัยมิได้แย่กว่าผู้ใหญ่เยาว์วัยในกิจกรรมเหล่านี้ เมื่อเผชิญกับรับรู้ในรูปแบบดั้งเดิม (Conventional) ในการศึกษาครั้งหนึ่ง นักวิจัยทดสอบผู้เข้าร่วมวิจัยในเรื่องการตัดสินใจคำศัพท์เฉพาะ โดยวางคำประกอบ (Compound) [กล่าวคือ คำที่ประกอบขึ้นจากคำ 2 คำ หรือมากกว่า อาทิ คำว่า “ร้านหนังสือ” (Bookshop)] ตามหลังคำรองพื้น (Priming word) ที่ไม่สัมพันธ์กับคำประกอบ (อาทิ คำว่า “บ้าน” (House) ในกรณีตัวอย่าง “ร้านหนังสือ”

ผลปรากฏว่า นักวิจัยไม่พบความแตกต่างในผลกระทบของของคำรองพื้น ระหว่างผู้สูงวัยและผู้ใหญ่เยาว์วัยที่เข้าร่วมวิจัย ซึ่งหมายความ (Imply) ว่า การประมวลโครงสร้างของคำ (Morphological processing) ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง (Intact) ในเวลาต่อมาของชีวิต แต่ถ้าการรับรู้ยากขึ้นหรือซับซ้อนขึ้น ความแตกต่างของการเสื่อมลงตามอายุ (Age decrement) จะเห็นเด่นชัด

ตัวอย่างจากนักวิจัยก็คือ การตัดสินใจคำศัพท์เฉพาะของผู้สูงวัยเป็นไปด้วยความเชื่องช้ากว่า แต่ถูกต้องแม่นยำกว่าของผู้ใหญ่เยาว์วัยที่เข้าร่วมวิจัย โดยใช้วิธีการแบบจำลองแพร่กระจาย (Diffusion model) ซึ่งกล่าวว่า ผู้สูงวัย มักเชื่องช้ากว่าในบางแง่มุม (Aspect) ของการประมวลผล แต่รับรู้เกณฑ์การตัดสินใจที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์นิยม (Conservative) ได้ดีกว่า

นักวิจัยอีกทีมหนึ่ง พบประจักษ์หลักฐาน (Evidence) ของความเสื่อมถอยที่สัมพันธ์กับอายุ เมื่องานการตัดสินใจคำศัพท์เฉพาะถูกดัดแปลง (Modified) ให้เข้ากับผู้เข้าร่วมวิจัย ซึ่งต้องตัดสินใจกลุ่มคำที่เป็นคู่ (Pair) โดยทั้งคู่ต้องรวมตัวเป็นคำจริง (Real word) ที่ตอบรับ (“Yes” response) ต่อคำถามที่กำหนดให้

ในแง่มุมของการประมวลผล นักวิจัยจัดแจง (Manipulate) ความยากของคำที่ใช้ในงานตัดสินใจคำศัพท์เฉพาะ ในลักษณะที่มีแนวโน้มสัมผัส (Strike) กับ (1) ส่วน (Aspect) ที่ค่อนข้างเป็นชายขอบ (Peripheral) [อาทิ การเปลี่ยนแปลง (Alter) สิ่งกระตุ้นของการอ่านเสียงดัง-ค่อยและเร็ว-ช้า] และ (2) ส่วนที่ค่อนข้างเป็นแกนกลาง (Central) อาทิ ความถี่ (Frequency) ของคำ

นักวิจัยสรุปว่า ความแตกต่างของอายุมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในส่วนที่เป็นชายขอบ มากกว่าส่วนที่เป็นแกนกลาง ตัวอย่างเช่น นักวิจัยพบว่า ไม่มีความแตกต่างในอายุที่เหนี่ยวนำ (Induce) โดยความถี่ของคำ การค้นพบนี้สะท้อน (Echo) ถึงงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่พบว่า ความแตกต่างในอายุมีมากกว่า เมื่อการปรากฏเห็น (Visual appearance) ของคำ (ซึ่งมักเป็นผลกระทบของส่วนที่เป็นชายขอบ) ได้รับการจัดแจงอย่างจงใจ

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Word recognition https://en.wikipedia.org/wiki/Word_recognition [2017, October 24].