จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 129 : ข้อจำกัดทางการรับรู้ (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-129

นักวิจัยพบความแตกต่างในเรื่องอายุเพียงเล็กน้อยในการเคลื่อนไหวของตา (Eye movement) ยกเว้นผู้สูงวัยมีแนวโน้มที่จะมองย้อนหลังในข้อความที่กำกวม (Ambiguous text) มากกว่าผู้ใหญ่เยาว์วัย กล่าวคือ ผู้สูงวัยสามารถประมวลข้อมูล (Information processing) ได้น้อยกว่าในแต่ละครั้ง (Single bite) และจำเป็นต้องตรวจสอบอีกครั้ง (Re-check) ในข้อความที่ซับซ้อน (Complex) ด้วยความบ่อยถี่กว่า เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ใหญ่เยาว์วัย

ทีมนักวิจัยหนึ่งรายงานการเปรียบเทียบ (Analogous finding) ในเรื่องการเคลื่อนไหวข¬องตาในข้อความที่อ่าน (Reading text) ซึ่งแตกต่างในหลากหลายหนทาง รวมทั้งการพยากรณ์ (Predictability) และความถี่ (Frequency) ของคำที่ใช้ แล้วพบว่า ผู้สูงวัยมีแนวโน้มที่จะอ่านกระโดดข้าม (Skip) กลุ่มคำ มากกว่าผู้อ่านที่เป็นผู้ใหญ่เยาว์วัย

นักวิจัยผู้หนึ่งสรุปว่า ผู้สูงวัยมีความเร็ว (Speed) ในการประมวลข้อมูลช้ากว่าผู้ใหญ่เยาว์วัย และชดเชย (Compensate) ด้วยการอ่านกระโดดข้ามกลุ่มคำที่มีอัตลักษณ์ (Identity) ซึ่งสามารถพยากรณ์ได้แม่นยำมาก ทำให้เขาสามารถเพิ่มความเร็วในการอ่านข้อความ (Passage) นี่อธิบายว่า ทำไมกลุ่มนักวิจัยจึงพบว่า ผู้สูงวัยที่เข้าร่วมวิจัย (Older participant) ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ จากความสามารถในการพยากรณ์และความถี่ของ [การอ่าน] ข้อความ

นักวิจัยอีกผู้หนึ่งได้ให้ผู้เข้าร่วมวิจัยแยกประเภท (Assort) ของ “ประโยคเส้นทางในสวน” (Garden-path sentences) ซึ่งเป็นประโยคที่ดูเหมือน (Appear) จะพูดถึงสิ่งหนึ่ง แต่ ณ เวลาต่อมา ได้กลายเป็นอีกสิ่งหนึ่ง จากความหมายที่ตั้งใจ (Intended meaning) เมื่อมีการทดสอบความเข้าใจ (Comprehension)

สาเหตุอาจมาจากความจริงที่ว่า ในช่วงเวลาต่อมาของชีวิต ผู้คนได้อาศัย “ศึกษาสำนึก” (Heuristics) [ซึ่งตรงข้ามกับ “สามัญสำนึก] เพื่อชดเชยความเสื่อมถอยในทักษะขั้นพื้นฐาน ข้อแม้ (Caveat) นี้ น่าสนใจเพราะ “ประโยคเส้นทางในสวน” อาจทำให้เข้าใจง่ายขึ้นเมื่อพูดและคำนึงถึงวิถีการพูด (Prosody) [อาทิ จังหวะหรือสำเนียง]

นักวิจัยให้ผู้เข้าร่วมวิจัยอ่านประโยคซึ่งมีการแปรผล (Interpretation) ที่กำกวม และมีความหมายตั้งใจจะให้กำหนด (Determine) โดยรูปแบบ (Pattern) ของวิถีการพูด แง่มุม (Aspect) แตกต่างกันอย่างมีระบบ (Systematic) กล่าวคือเสียงสูง-ต่ำ (Pitch) ความดัง-ค่อย (Amplitude) และจังหวะเวลา (Timing)

นักวิจัยอีกผู้หนึ่งพบว่า ในผู้สูงวัยและผู้ใหญ่เยาว์วัย ความแตกต่างของจังหวะเวลา มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญมากที่สุด ซึ่งสะท้อนเสียง (Echo) ของนักวิจัยอีกทีมหนึ่งที่พบว่า หากคำเป้าหมาย (Target word) มีการออกเสียง (Phonetically) ที่กำกวม อาทิ การเปล่งเสียงคำที่ขึ้นต้นด้วย ก. (G) หรือ ค. (K) ผู้สูงวัย มีแนวโน้มหรือลำเอียง (Biased) ได้ง่าย ในการแยกแยะเป้าหมายของคำที่เหมาะเจาะ (Fit) กับบริบท (Context) [มากกว่าข้อเท็จจริง]

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Decline and Compensation in Aging Brain and Cognition: Promises and Constraints https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2809780/ [2017, October 3].