จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 128 : ข้อจำกัดทางกายภาพ (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-128

การคัดลายมือ หรือการเขียนด้วยมือ (Hand-writing) ก็เปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน อันเนื่องมาจากความเสื่อมถอยทางกายภาพ (Physical deterioration) นอกเหนือจากผลกระทบจากสภาวะ (Condition) [อาทิ ขั้นตอนแรกๆ ของโรคสมองเสื่อม (Dementia) และโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s)] แล้ว ชราภาพตามปรกติ ก็เป็นปัญหาได้เช่นกัน

ตัวอย่างเช่น การควบคุมการประสาน (Co-ordination) ระหว่างเทศะ [ตำแหน่งแห่งที่] ของนิ้วมือกับการเคลื่อนไหวของข้อมือที่เกี่ยวข้องกับลายมือ จะเสื่อมถอยลงในเวลาต่อมาของชีวิต โดยทั่วไป นักเขียนผู้สูงวัยจะมีประสิทธิภาพ (Efficient) ลดลง ในการใช้เสียงสะท้อนทางสายตา (Visual feedback)

อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างระหว่างวัย ไม่จำเป็นต้องเกิดจากปัจจัยทางกายภาพเสมอไป ตัวอย่างเช่น ผู้สูงวัยจำนวนมากที่ถนัดซ้ายตามธรรมชาติ (Naturally left-handed) ใช้มือขวาสำหรับการเขียน เพียงเพราะโรงเรียนจำนวนไม่น้อยได้บังคับให้เด็กนักเรียนเขียนหนังสือด้วยมือขวา จนกระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้

นี่อาจบิดพลิ้ว (Distort) สิ่งที่นักวิจัยค้นพบเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างวัยในทักษะของลายมือ ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงมีทั้งข้อดีและข้อเสียผสมกัน (Mixed) นอกเหนือจากรูปร่างภายนอกของความสวยงาม (Aesthetic appearance) ของลายมือเอง

นักวิจัยยังพบว่าในภาพรวม (Overall) แล้ว ความเร็วในการเขียนลายมือลดลงเมื่ออายุสูงขึ้น ในกรณีหลากหลายของงานเขียน (Writing task) อย่างไรก็ตาม นี่ได้รับการก่อร่าง (Shaped) โดยระดับความคุ้นชินกับงาน (Familiarity) กล่าวคือ ยิ่งมีความคุ้นชินกับงานมากขึ้น ยิ่งมีความแตกต่างน้อยลงในระหว่างวัย นอกจากนี้หากงานที่ปฏิบัติได้รับการฝึกปรือ (Practice) มากขึ้น ยิ่งมีความแตกต่างน้อยลงในระหว่างวัย เช่นกัน และเวลาในการสนองตอบ (Reaction time) ก็เร็วขึ้นด้วย

จากตัวอย่างที่กล่าวมา เราอาจสรุปโดยสัญชาตญาณธรรมชาติ (Intuitively) ได้ว่า อะไรก็ตามที่เพิ่มภาระในการประมวล (Processing load) หรือไม่ก็ทำให้งานทางภาษาศาสตร์ (Linguistic task) ยากขึ้น ก็จะไม่เอื้อคุณประโยชน์ (Disadvantage) ต่อผู้สูงวัย อย่างมิได้เป็นสัดส่วน (Disproportionately) กัน

อย่างไรก็ตาม การวิจัยแสดงผลลัพธ์ที่น่าสนใจ โดยที่นักวิจัยกลุ่มหนึ่งพบว่า ความเร็วของการอ่านไม่ได้รับผลกระทบจากการมีภาระในเวลาเดียวกัน (Concurrent) ของการทำอีกงานหนึ่ง ซึ่งอาจเบี่ยงเบนความสนใจ (Distractor) และนักวิจัยอีกกลุ่มหนึ่ง ค้นพบเชิงอุปมาน (Analogous finding ) ว่าการจัดการ (Manipulation) กับแง่มุมของเนื้อหา (Aspect of text) [อาทิ ความซับซ้อนเชิงประโยค (Syntactical complexity) และ/หรือ ปริมาณของเนื้อหาที่สามารถมองเห็นได้ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง] ไม่มีผลกระทบต่อความเร็วในการอ่านของผู้สูงวัย เมื่อเปรียบเทียบผู้อ่านเที่ยาว์วัย

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Barriers to physical activity in older adults in Germany: a cross-sectional study https://ijbnpa.biomedcentral.com/articles/10.1186/1479-5868-8-121 [2017, September 26].