จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 127 : ข้อจำกัดทางกายภาพ (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-127


...ผู้สูงอายุจำนวนมากไม่ทราบ (Unaware) ว่าตัวเองมีปัญหาในเรื่องสายตา (Vision) นักวิจัยสังเกตเห็นว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยทุกคน ตั้งแต่อายุ 50 ปี ขึ้นไป ให้คะแนนใกล้เคียงกัน (Near-identical) ในเรื่องการมองเห็น แม้ว่าอันที่จริงแล้ว มีความเสื่อมถอยอย่างเห็นได้ชัด (Marked deterioration) ในผู้เข้าร่วมวิจัยสูงวัย

ความเสื่อมถอยดังกล่าวมิได้เพียงหมายความว่า ผู้สูงวัยจำเป็นต้องได้ตัวพิมพ์ที่โตขึ้น และ/หรือเครื่องช่วยการได้ยิน (Hearing aids) การสูญเสียประสาทสัมผัส (Sensory loss) อาจกระทบโดยตรงถึงประสิทธิภาพ (Efficiency) การประมวลข้อมูล ตัวอย่างเช่น นักวิจัยพบว่า ผู้สูงวัยที่สูญเสียการได้ยินไม่มาก (35 – 50 เดซิเบล) ประสบความลำบากในการจดจำรายชื่อของคำที่พูดไปแล้ว (Spoken) แม้ว่าก่อนหน้านี้ เขาสามารถทวนซ้ำ (Repeat) คำพูดดังกล่าวได้อย่างสมบูรณ์ (Perfectly)

ดูเหมือนว่าผู้สูงวัยที่ด้อยประสิทธิภาพในการได้ยิน (Hearing impair) จะสามารถสังเกต (Perceive) คำพูดได้ดี แต่ต้องใช้ความพยายามมากขึ้น ทำให้ใช้ “ทรัพยากรทางจิต” (Mental resource) ลดน้อยลงในการบันทึก (Encode) และจดจำคำพูด นักวิจัยพบว่า ผู้สูงวัยที่อาจจดจำสุนทรพจน์ (Discourse) ไม่ได้ ทั้งในรายละเอียดและสาระสำคัญ (Gist) เมื่อมีความแตกต่างในระดับสูง-ต่ำของการได้ยิน (Volume level) และภูมิหลังของแหล่งเสียง (Background noise)

ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงในสภาพรอบข้าง (Peripheral change) ของการได้ยิน สามารถอธิบายเป็นสัดส่วน (Proportion) สูงของการเสื่อมถอยของผู้สูงอายุในทักษะภาษาศาสตร์ (Linguistic skill) ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ป้อนเข้าไปในกระบวนการได้ยิน (Auditory input)

อย่างไรก็ตาม นี่มิได้หมายความว่าทุกสิ่งทุกอย่างได้รับการอนุรักษ์ (Preserved) อย่างสัมบูรณ์ (Absolutely) ตัวอย่างเช่นเมื่อได้รับการร้องขอให้ทำงาน (Perform a task) และจดจำคำพูดในเวลาเดียกัน ผู้สูงวัยทำงานได้แย่กว่าอย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่าคำพูดดังกล่าวได้รับการขยายให้ดังขึ้น (Amplified) เพื่อแก้ปัญหาผลกระทบจากการสูญเสียการได้ยิน

เสียง (Voice) ก็เปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน การขึ้นเสียงสูง (Raising of pitch) เกิดจากหลากหลายปัจจัย อาทิ การสูญเสียกล้ามเนื้อ (Muscle wastage) และการลดลงในขีดความสามารถของปอด (Lung capacity) รวมทั้งปรากฏการณ์สมัยใหม่ อาทิ ฟันปลอมที่จัดไม่ดี (Ill-fitting denture) และการสูบบุหรี่จัด

ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลใด เสียงที่ออกมา (Vocal output) มักจะแย่ลงในผู้สูงวัย การสูญเสียประสิทธิภาพของเสียง (Vocal efficiency) นี้ แสดงถึงอัตราเร็ว-ช้าของการเปล่งเสียง (Articulation rate) สำหรับการพูดสด (Impromptu speech) การอ่านข้อความร้อยแก้ว (Passage of prose) หรือเวลาที่ใช้ในการออกเสียง (Pronounce) คำ อัตราที่ช้าลงในผู้สูงวัย มีสหสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับช่วงระยะความทรงจำ (Memory span) และการรับรู้การเชื่อมโยง (Cognitive connection) ด้วย

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Barriers to physical activity in older adults in Germany: a cross-sectional study https://ijbnpa.biomedcentral.com/articles/10.1186/1479-5868-8-121 [2017, September 19].