จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 125 : การอ่านกับวิถีชีวิตของผู้สูงวัย (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-125

ถ้าบุคคลรู้สึกว่า เขาไม่สามารถปรับปรุงชีวิตของตนให้ดีขึ้น การอ่านเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพ อาจมีกระทบเพียงเล็กน้อย (Negligible impact) ดังนั้น การออกแบบวรรณกรรมด้านสุขภาพ (Health literature design) ต้องได้รับการใส่ใจ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในเนื้อหา (Content) สามารถเปลี่ยนแปลง (Alter) ระดับความเข้าใจ (Comprehension) อย่างมีนัยสำคัญได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีความสามารถต่ำในการสื่อสารด้วยวาจา (Verbal ability)

การอ่านเป็นหนึ่งในจำนวนหลายปัจจัยที่มีอิทธิพล (Influence) ต่อพฤติกรรมสุขภาพ การอ่านในมิติของกิจกรรมยังจะช่วยปรับปรุงความสามารถในการเข้าถึงและใช้ข้อมูลการดูแลสุขภาพ (Health literacy) แต่ถ้าการอ่านของผู้สูงวัย มุ่งเน้นไปที่ความบันเทิงแทนวรรณกรรมสุขภาพ (Health literature) ประสิทธิผลของการอ่านก็อาจจะเหมือนอาวุธที่ทื่อและทู่ (Blunted)

อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งปัญหาในการอ่านยังเป็นประเด็นที่รุนแรง ตัวอย่างที่นักวิจัยพบในสหราชอาณาจักร (United Kingdom) ก็คือ ปัญหาของผู้สูงอายุในการกินยา (Dose) อย่างถูกต้อง เกือบ 10% ของผู้เข้าร่วมวิจัยอายุ 77+ ปี ซึ่งเป็นตัวแทนที่ของประชากร (Demographically representative) ไม่สามารถอ่านคำสั่ง (Instruction) บนฉลากยาได้อย่างถูกต้องแม่นยำพอ

แล้วยังมีสัดส่วน (Proportion) ที่สูงกว่านี้ ซึ่งไม่สามารถเข้าใจ (Comprehend) คำสั่งที่ได้อ่านแล้ว รวมทั้งประเด็นทางกายภาพ อาทิ ความยากลำบากในเปิดฝานิรภัย (Safety cap) ของขวดยาเม็ด (Pill) อันที่จริง 2 ใน 3 ของผู้สูงวัยที่เข้าร่วมวิจัย มีปัญหาอย่างน้อย 1 ข้อที่จำกัดความสามารถในการกินยาได้อย่างถูกต้อง

นักวิจัยชี้ให้เห็นถึงความบกพร่องในทางปฏิบัติ (Practical shortcomings) ที่รุนแรง ซึ่งไม่เพียงแต่ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้สูงวัย แต่ยังเป็นการสูญเสียทรัพยากรที่สามารถป้องกันได้ โดยการเพิ่มความง่ายในการเข้าใจสิ่งที่อ่าน ผ่านการฝึกปรือ (Practice) การอ่านที่มีคุณภาพ

ในลักษณะเดียวกับที่ปราศจากการฝึกฝน (Train) นักกีฬา (Athlete) อย่างขยันขันแข็ง (Strenuously) การอ่านเนื้อเรื่อง (Text) ที่ไม่ท้าทายเพียงพอ (Sufficiently demanding) เป็นสาเหตุของความเสื่อมถอยในทักษะการอ่าน การลดลงใน “ทรัพยาการทางจิต” (Mental resource) อาจหมายความว่า ผู้สูงวัยบางคนไม่มีความเข้มข้นของสติปัญญา (Intellectual rigor) เหมือนแต่ก่อน จึงเลือกที่จะอ่านเรื่องเบาๆ (Light) ในหนังสือพิมพ์และนิตยสารกว่า 90% ของเวลาของเขา

นักวิจัยพบว่า ผู้ใหญ่เยาว์วัย มีแรงผลักดันของการแข่งขัน (Competitive urge) ที่จะอ่านเรื่องหนักๆ (Heavy) เพื่อปรับปรุงทักษะการอ่านของตนเอง อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยแสดงว่า ทั้งผู้สูงวัยและผู้ใหญ่เยาว์วัย ต่างเพลิดเพลิน (Enjoy) กับการอ่านในระดับเดียวกัน

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Reading and the Elderly http://www.readingworldwide.com/index.php?id=51622 [2017, September 5].