จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 122 : ชราภาพกับภาษา (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-122

กระบวนการจากขั้นทักษะพื้นฐานของการรับรู้ตัวอักษร (Letter recognition) จนถึงขั้นตอนที่ค่อนข้างซับซ้อนของการสกัดความหมาย (Meaning extraction) มิได้ดำเนินไปในทิศทางเดียว เนื่องจากขั้นตอนที่ซับซ้อนสามารถส่งข้อมูลหวนกลับไปในสายโซประมวลคำพูด (Process chain) ให้เร่งความเร็วในการอ่านได้

การเอื้ออำนวยความหมาย (Semantic facilitation) เป็นกรณีที่เนื้อหา (Content) ของข้อความทำให้เราสามารถพยากรณ์ (Predict) คำที่กำลังจะมาถึง (Coming-up words) โดยเฉพาะกรณีการอ่านลายมือที่ไม่บรรจง (Sloppy handwriting) สำหรับตัวพิมพ์ตามปรกติ เราสามารถใช้การคาดเดาเพื่อเอื้ออำนวยการรับรู้คำได้

เป็นที่พิสูจน์ (Demonstrated) แล้วว่า ในคำที่เชื่อมโยงกันโดยตรรกะกับสิ่งที่เพิ่งอ่านไป เราสามารถอ่านได้เร็วกว่าคำที่คาดเดาได้ยาก ตัวอย่างเช่น ถ้าเรากำลังอ่านเรื่องสัตว์ เราจะอ่านคำว่า “เสือ” ได้เร็วกว่าคำว่า “เก้าอี้” ในสถานการณ์ทดลองเป็นทางการ (Formal experiment) ปรากฏการณ์ (Phenomenon) นี้ได้รับการทดสอบโดยนำเสนอผู้เข้าร่วมวิจัยเพียงคำหลัก (Prime) แล้วตามด้วยคำซึ่งอาจจะสัมพันธ์โดยความหมาย (Semantically related) กับคำหลัก หรือไม่สัมพันธ์เลย

ผู้เข้าร่วมวิจัยต้องตัดสินใจว่า เป็นคำหรือไม่ ถ้าเป็นให้อ่านออกเสียงดัง ในทั้ง 2 กรณี การสนองตอบจะเร็วขึ้นถ้าคำหลักมีความสัมพันธ์โดยความหมาย คำถามที่ว่าการเอื้ออำนวยเกิดขึ้นได้อย่างไร? ยังคงเป็นที่โต้เถียงกันอย่างเผ็ดร้อน (Hotly contest) อยู่ในขณะนี้ แต่โดยทั่วไป ดูเหมือนว่า การเข้าถึงความหมายจะเร็วกว่าถ้าปรากฏเป็นตัวพิมพ์

ข้อพิจารณาสุดท้ายคือบทบาทของความทรงจำ ถ้าปราศจากความทรงจำระยะยาว คงเป็นไปไม่ได้ที่จะอ่านและเข้าใจเรื่องราวเพียงเพราะเราหลงลืมโครงเรื่อง (Plot) ครั้งแล้วครั้งเล่า สิ่งที่อาจเห็นได้ชัดเจนน้อยกว่า (Less obvious) ก็คือ ความจำเป็นที่ต้องมีความทรงจำปฏิบัติงาน (Working memory) แต่เราก็ต้องมีความสามารถที่จะเก็บไวในจิตใจสิ่งที่อ่านไปแล้ว มิฉะนั้น เมื่อเราบรรลุถึงจุดสิ้นสุดประโยค เราอาจหลงลืมจุดสำคัญ โดยเฉพาะประโยคที่มีความยาวมากและซับซ้อนมาก

ดังนั้นการอ่านเกี่ยวข้องกับบูรณาการ (Integration) ของทักษะการมองเห็น (Perceptual) การรับรู้ (Cognitive) ภาษาศาสตร์ (Linguistic) และความทรงจำ กระบวนการในการความเข้าใจ (Comprehension) ภาษาพูดก็เหมือนกับภาษาอ่าน จะต้องมีขีดความสามารถ (Capacity) สำหรับ (1) รับรู้อักษรแต่ละตัว (2) แยกแยะการอออกเสียง (Pronounce) อย่างถูกต้อง (3) แยกแยะความหมายของประโยคที่ยอมรับได้ (Syntactically acceptable และ (4) สกัดสาระสำคัญ (Gist) ของข้อความที่พูด

แต่ก็มีความแตกต่างที่เห็นได้ชัด กล่าวคือ การอ่านสามารถเข้าถึงได้ด้วยการเห็น (Visually) และเสียงพูด (Acoustically) ทำให้ผู้อ่านสามารถย้อนหลังกลับไปอ่านใหม่หากไม่เข้าใจอะไร ในขณะที่ผู้ฟังมักมีโอกาสน้อยกว่าในการเข้าถึงเมื่อมีการเปรียบเทียบความคล้ายคลึง (Analogous) เว้นแต่ขอให้ผู้พูด อธิบายซ้ำในสิ่งที่พูดไปแล้ว

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Aging and language https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2293308 [2017, August 15].