จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 121 : ชราภาพกับภาษา (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-121

หนึ่งในจำนวนประโยชน์มหาศาล (Great advantage) ที่เราอาศัยอยู่ในโลกที่อ่านออก-เขียนได้ (Literate) ก็คือ เราไม่ต้องพึ่งพาความทรงจำเพื่อการเก็บรักษาข้อมูลอีกต่อไป ไม่ว่าจะเกิดขึ้นมานานจนเป็นประวัติศาสตร์ หรือเพิ่งเกิดขึ้นปัจจุบันทันด่วน อาทิ รายการจับจ่าย (Shopping list) เราจึงไม่ควรเกรงกลัวต่อการใช้การอ่านออก-เขียนได้ให้เกิดประโยชน์

ความผิดพลาดได้ (Fallibility) แม้ในความทรงจำที่เป็นเลิศ นำมาซึ่งการตั้งคำถามว่า มีสักกี่คนที่ไว้วางใจผู้อื่นให้ช่วยจดจำรายการจับจ่ายประจำวัน? แต่นี่ไม่ควรเป็นข้ออ้าง (Excuse) ของการหลงอิ่มเอมใจ (Complacency) ในความทรงจำ การรักษาสติปัญญาและความทรงจำผ่านการ “ออกกำลังจิต” (Mental exercise) เพิ่มเติม (Augmented) ด้วยการออกกำลังกาย (Physical exercise) ยังเป็นนโยบายที่ชาญฉลาด (Wise) เท่าที่ผ่านมา

ชราภาพกับภาษา เป็นมิติหนึ่งของการอ่านออก-เขียนได้ อันประกอบขึ้นด้วยแนวความคิดขั้นพื้นฐานของจิตวิทยาภาษาศาสตร์ (Psycho-linguistic) อาจเป็นการง่ายที่สุดในการแนะนำสาขาวิชานี้ ผ่านการตรวจสอบของกระบวนการทางจิตวิทยาที่เกี่ยวเนื่องกับการอ่าน (Reading)

การอ่านเป็นทักษะทางภาษาศาสตร์ (Linguistic skill) ที่นักจิตวิทยา และนักวิทยาศาสตร์วัยชรา (Gerontologist) สนใจศึกษามากที่สุด เมื่อได้พิจารณาอย่างลึกซึ้ง (Introspectively) จะพบว่า การอ่านถูกมอง (Perceived) ว่าเป็นกระบวนการที่ค่อนข้างอัตโนมัติและทันทีทันใด (Instantaneous)

แต่อันที่จริงแล้วมันเกี่ยวข้องกับการประสานงาน (Co-ordination) ของหลากหลายทักษะ ตั้งแต่ขั้นพื้นฐานไปจนถึงขั้นซับซ้อน (Complex) แต่ในเบื้องต้น (Priori) การอ่านตามปรกติอย่างน้อยต้องสัมพันธ์กับนานากระบวนการ ในขั้นตอนแรก ต้องมีกลไกทางจิต (Mental mechanism) สำหรับแยกแยะอักษร (Letter) แต่ละตัว ที่แตกต่าง (Distinguish) จากคราบเลอะเทอะ (Splodge) ของน้ำหมึก หรือรายการ¬อักขระ (Alphabet) ภาษาต่างประเทศ

แล้วยังต้องมีขั้นตอนการแยกแยะลำดับ (Sequence) ว่าตัวอักษรก่อร่าง (Form) เป็นคำ (Word) หรือเป็นเพียงกลุ่มคำที่ไร้สาระ (Non-sense strings) รวมทั้งความคิดเห็น (Judge) ในวิธีการออกเสียงคำ (Pronounce) กล่าวคือการเปลี่ยน (Convert) จากตัวพิมพ์เป็นเสียงพูด ขั้นตอนเหล่านี้ต้องตามมาด้วยทักษะความคิดเห็นของการยอมรับได้ (Acceptability) ทั้งในรูปแบบของประโยค (Syntactical) และในความหมาย (Semantic) ของคำพูด

และในขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการอ่านต้องเกี่ยวข้องกับการสกัด (Extract) ความหมายจากวลี (Phrase) การพิจารณาอย่างลึกซึ้งแสดงว่า เรามักไม่จดจำทุกๆ คำของสิ่งที่ได้อ่านไป แต่จะระลึกถึงสาระสำคัญของเรื่องราว (Gist of story) ดังนั้นผู้อ่านต้องมีวิธีการสกัดคุณลักษณะหลัก (Key feature) ออกจากชิ้นส่วนของเนื้อหา (Piece of text)

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Aging and language https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2293308 [2017, August 8].