จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 116 : ความทรงจำตนเอง (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-116

นักวิจัยศึกษาค้นหาปรากฏการณ์ของคำซึ่ง “ติดอยู่ที่ปลายลิ้น” (Tip of tongue : TOT) อย่างเข้มข้น (Intensive) โดยผู้เข้าร่วมวิจัย (Participant) ได้รับนิยามของคำคลุมเครือ (Obscure) แล้วให้คำตอบ ซึ่งเขามักจะทราบคำนั้นทันที หรือไม่มีความคิด (Idea) เลย แต่ในบางครั้ง สถานะของ TOT ก็เกิดขึ้น (Generate) อาทิ จำนวนพยางค์ (Syllable) หรือคำที่ออกเสียงคล้ายกัน

ผู้เข้าร่วมวิจัยสามารถให้รายละเอียดของคำได้ อาทิ 57% ของเหตุการณ์ เขาจะจำอักษรตัวแรกได้ สถานะของ TOT จะเป็นความรำคาญใจ (Annoyance) เมื่อถูกจำกัดให้อยู่ในขอบเขต (Confined) ที่ต้องให้นิยามคำที่ไม่ค่อยได้ใช้ (Rare) แต่มันก็คืบคลาน (Creep) เข้าไปในคำพูดที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นจึงมีศักยภาพของความด้อยสมรรถนะ (Potential disability)

นักวิจัยให้ผู้เข้าร่วมวิจัยบันทึกเหตุการณ์ประจำวัน (Diary) ของสถานะของ TOT ในช่วง 4 สัปดาห์ แล้วพบว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยสูงวัยรายงาน TOT มากกว่าผู้เยาว์วัยอย่างมีนัยสำคัญ แม้จะไม่มีความแตกต่างตามอายุในสัดส่วนของการค้นพบคำในปริศนา กว่า 90% ของเหตุการณ์ ทั้ง 2 กลุ่มอายุ จะค้นพบคำที่แสงหาในที่สุด

อย่างไรก็ตาม ขณะอยู่ในสถานะ TOT ผู้เข้าร่วมวิจัยเยาว์วัย รายงานรายละเอียดของคำและเข้าใกล้จุดเริ่มต้นการรับรู้ (Recognition threshold) ได้มากกว่าผู้สูงวัยอย่างมีนัยสำคัญ ตัวอย่างเช่น นักวิจัยพบว่า ถ้าตั้งคำถามเกี่ยวกับความรู้ทั่วไป ที่ก่อให้เกิดสถานะของ TOT เสียงแรก (Initial sound) ของคำที่ค้นหา จะทำให้ผู้เยาว์วัยตอบโจทย์ ได้มากกว่าผู้สูงวัย

โดยทั่วไป ผู้สูงวัยแย่กว่าผู้เยาว์วัยอย่างไม่ได้สัดส่วน (Disproportionately worse) แต่มีนัยสำคัญ ในการจดจำชื่อใหม่ๆ มากกว่ารายละเอียดใหม่ๆ ในเรื่องที่เกี่ยวกับผู้คน อาทิ (อาชีพของเขา) อาจเนื่องจากประสิทธิภาพ (Efficiency) ที่ต่ำกว่าของการประมวลทางจิต (Mental processing) กล่าวให้ง่ายขึ้น (Simplistically) ก็คือ ความทรงจำประเภทอาศัยความหมาย (Semantic category) อาทิ ชาวนา จะจดจำได้ง่ายชื่อเฉพาะ (Precise) ของชาวนาผู้นั้น

ผู้สูงวัยอาศัยกลยุทธ์ในการรอคอย (Waiting) ให้ชื่อที่แสวงหาเกิดขึ้นในบัดดล (Pop up) ดังนั้น เราอาจสันนิษฐาน (Surmise) ว่า ผู้สูงวัยมีปัญหาในการรื้อฟื้น (Retrieve) ร่องรอย (Trace) ของความทรงจำชั่วขณะ (Faint memory) จึงมีสถานะ TOT มากกว่า แต่มีรายละเอียดเกี่ยวกับคำน้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับผู้เยาว์วัย ซึ่งสามารถแยกแยะเกี่ยวกับคำได้มากกว่าเมื่ออยู่ในสถานะ TOT และมีข้อมูลมากกว่าก่อนลงมือปฏิบัติ (Act) และคุ้มค่า (Worthwhile) กว่าในการแสวงหาความทรงจำดังกล่าว

ในทางประสาทวิทยา (Neurology) ประจักษ์หลักฐานแสดงว่า สถานะ TOT เกี่ยวข้องกับการสูญเสียสสารสีเทา (Grey matter) และการลดระดับกิจกรรมในส่วนของสมองข้างซ้ายที่ตอบรับกับสิ่งเร้า (Insula) ซึ่งเป็นอาณาบริเวณของสมองที่เกี่ยวข้องกับการประมวลเสียง (Phonological processing) ส่วนกิจกรรมในสมองกลีบหน้า (Prefrontal lobe) ในสถานะ TOT แตกต่างกันตามอายุ แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงในการประมวลทางประสาท (Neural processing) อย่างไม่ต้องสงสัย

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Metamemory https://en.wikipedia.org/wiki/Metamemory [2017, July 04].