จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 113 : ความทรงจำตามแผน (4)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-113

งานระยะยาว (อาทิ การจดจำที่ผู้เข้าร่วมวิจัย จะโทรศัพท์หาผู้วิจัย ณ เวลาในวันเฉพาะ) อาจได้รับการผนวกให้เข้ากับกิจวัตรประจำวันของชีวิต แล้วกลายเป็นส่วนหนึ่งระเบียบวิธีปฏิบัติ (Procedure) อย่างไรก็ตาม การทำงานพร้อมกัน (Concurrent) หรือสื่อสารข้อความ (Message delivery) กับนักวิจัย ไม่ใช่สิ่งที่ผู้สูงวัย จะปฏิบัติกันมากนัก

ข้อโต้แย้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากนักวิจัยผู้พบว่า การวัดผลมาตรฐานของความทรงจำตามแผน (Prospective memory) ในบริบทตามธรรมชาติ (Naturalistic) นั้น ผู้สูงวัยจะทำคะแนนทดสอบได้สูงขึ้น เนื่องจากในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง (Real world) ดังกล่าว เขาสามารถลงมือปฏิบัติกิจกรรมประจำวันได้ตามความตั้งใจ (Intention)

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้สูงวัยที่ทำงานตามความเร็ว-ช้า (Pace) ของตนเอง ในโลกของตนเอง [และไม่พยายามทำตามการเรียกร้อง (Command) ของผู้วิจัยที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ในประเภทห้องทดลอง (Laboratory) ที่เขาแทบควบคุมไม่ได้] จะทำให้ความทรงจำของเขาดีขึ้น

กล่าวโดยสรุป การวิจัยในปัจจุบันเกี่ยวกับความทรงจำตามแผนในผู้สูงวัย อาจรวม (Encompass) ปรากฏการณ์ (Phenomenon) ที่แตกต่างกัน 2 ประเภท ของหัวข้อ (Heading) ภายใต้ “ผ้าห่มผืนเดียวกัน” (Under one blanket)

ประเภทแรก ใช้ในบริบทตามธรรมชาติ คือการจดจำการนัดหมายหรือความรับผิดชอบในอนาคต ซึ่งเป็นการทดสอบภายใต้เงื่อนไขที่เป็นจริง ส่วนประเภทที่ 2 เป็นความสามารถในการจดจำการลงมือปฏิบัติ ระหว่างการประมวลงานอื่นๆ พร้อมกัน ซึ่งเป็นการทดสอบที่ภายใต้เงื่อนไขในห้องทดลอง

ส่วนความแตกต่างจากประเภทแรกดูเหมือนจะได้จากการทบทวนวรรณกรรมระบบเชิงปริมาณ (Meta-analysis) ซึ่งพบว่า ผู้สูงวัยทำคะแนนทดสอบได้ดีกว่าผู้เยาว์วัยในงานตามธรรมชาติ แต่ในทางกลับกัน ผู้เยาว์วัยทำคะแนนทดสอบได้ดีกว่าผู้สูงวัยในงานบนพื้นฐานห้องทดลอง

อย่างไรก็ตาม สติปัญญา (Intelligence) มิใช่ตัวพยากรณ์ (Predictor) ที่ดีนักสำหรับทั้ง 2 ประเภท แม้ว่าความเสื่อมถอยในประเภทที่ 2 ของความทรงจำตามแผนคล้ายคลึง (Resemble) กับสิ่งที่พบในความทรงจำปฏิบัติงาน (Working memory)

นักวิจัยพบว่า ผู้ใหญ่วัยต้น วัยกลาง และวัยชรา มีรูปแบบที่แตกต่างอย่างชัดเจน (Distinct pattern) ของกิจกรรมสมองที่ทำงานด้านความทรงจำตามแผน แสดงว่ากลไก (Mechanism) ตามธรรมชาตี่เกี่ยวข้องกับความทรงจำตามแผน อาจเปลี่ยน ไปตลอดช่วงอายุของชีวิต (Life span) และผลการทดสอบความทรงจำตามแผน มีความสัมพันธ์โดยตรงกับระดับการทำงานของสมองกลีบหน้า (Frontal lobe) แต่ยังพิสูจน์ไม่ได้แน่ชัดถึงความสัมพันธ์กับระดับการทำงานของต่อมไทรอยด์ (Thyroid)

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Prospective memory https://en.wikipedia.org/wiki/Prospective_memory [2017, June 13].