จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 109 : ความทรงจำอัตชีวประวัติ (5)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

การทำงาน (Functioning) ของสมองกลีบหน้า (Frontal lobe) ซึ่งเป็นอีกอาณาบริเวณหนึ่งที่มีผลกระทบต่อช่วงเวลาต่อมาของชีวิตนั้น มีความสัมพันธ์กับการวางแผนและการจัดลำดับ (Sequencing) ของความทรงจำ แต่ความทรงจำส่วนที่ห่างไกลจากขมับ (Temporal remoteness) ดูเหมือนจะไม่ได้มีผลมาก (Radical) ต่อความแตกต่างตามอายุ โดยเฉพาะในกิจกรรมที่เกี่ยวกับประสาท (Neural activity)

นอกเหนือจากการพิจารณาถึงปริมาณและคุณภาพของความทรงจำอัตชีวประวัติแล้ว ยังมีประเด็นในเรื่องการทำงาน ข้อโต้แย้งหนึ่งอาจ (Plausible) เป็นเรื่องที่ความทรงจำดังกล่าว เป็นส่วนประกอบสำคัญในการก่อร่าง (Form) สร้างความรู้สึกของอัตลักษณ์ (Sense of identity)

นักวิจัยได้ค้นพบการเชื่อมโยง (Link) ระหว่างการก่อให้เกิด (Production) ความทรงจำอัตชีวประวัติกับประเภทของบุคลิกภาพ (Personality) โดยเฉพาะบุคลิกภาพแบบแสดงตัว (Extraversion) บุคลิกภาพแบบหวั่นไหว (Neuroticism) และบุคลิกภาพแบบเปิดรับประสบการณ์ (Openness to experience)

ส่วนอีก 2 ปัจจัยในองค์ประกอบทั้ง 5 ของประเภทของบุคลิกภาพได้แก่ บุคลิกภาพแบบประนีประนอม (Agreeableness) กับ บุคลิกภาพแบบมีจิตสำนึก (Conscientiousness) หากนำตัวอักษรแรกของทุกปัจจัยมาเรียงกันใหม่ให้จำง่าย จะได้คำว่า “OCEAN” ซึ่งเป็นการอธิบายลักษณะธรรมชาติของมนุษย์โดยทั่วไป

บุคลิกภาพแบบแสดงตัว เป็นผู้ที่ชอบสมาคมกับผู้อื่น จึงจำเป็นต้องใช้ในการสนทนา บุคลิกภาพแบบหวั่นไหว เป็นผู้วิตกกังวลที่คำนึงถึง (Ruminate) เหตุการณ์ที่ไม่น่ารื่นรมย์ในอดีต ส่วนบุคลิกภาพแบบเปิดรับประสบการณ์ เป็นคนที่มีสุนทรีภาพ ซึ่งแสวงหาความหมายของชีวิต จึงมีการใช้ความทรงจำ (Reminiscence) เหล่านี้ในบริบทของการบำบัด (Therapeutic)

ผู้วิจารณ์ (Commentator) จำนวนไม่น้อยเชื่อว่า การบำบัดความจำสำหรับผู้สูงวัยควรได้รับการสนับสนุน เพื่อประโยชน์ของการดำเนินชีวิต [อย่างมีความสุข] และยังมีประจักษ์หลักฐาน (Evidence) ว่า การซักไซ้ไล่เลียง (Elicit) ความทรงจำอัตชีวประวัติ อาจเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ได้ประสิทธิผล (Effective) ในการบำบัดรักษาผู้ป่วยสูงวัยในโรคซึมเศร้า (Depression) เป็นต้น

สำหรับผู้สูงวัยส่วนมากแล้ว ความทรงจำอาจเป็นเพียงการสนองตอบต่อความเบื่อหน่าย (Boredom) [ของชีวิต] ผู้สูงวัยอาจเปรียบเทียบระหว่างเหตุการณ์ปัจจุบันที่ไม่น่าจดจำ (Unmemorable present) กับเหตุการณ์อดีตที่โชกโชน (Eventful) ส่วนเหตุการณ์ที่อยู่ไกลออกไปอาจได้รับการค้นหา (Researched) และปฏิบัติซ้ำ (Rehearsed) ครั้งแล้วครั้งเล่าในความทรงจำ เสมือนเป็นโรงละครของจิตใจ (Theater of mind) ซึ่งกลายเป็น “การแสดงเดียวที่มีอยู่ในเมือง” (Only show in town)

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Auto-biographical memory https://en.wikipedia.org/wiki/Autobiographical_memory [2017, May 16].