จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 107 : ความทรงจำอัตชีวประวัติ (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

จุดสูงสุดของความทรงจำ (Reminiscence peak) เป็นปรากฏการณ์ (Phenomenon) ของความทรงจำอัตชีวประวัติ (Auto-biographical memory) ในระยะไกล (Distant) [เปรียบเทียบกับระยะใกล้ (Immediate past)] ที่มีแนวโน้มว่าจะมาจากช่วงเวลาของชีวิตระหว่าง 10 ถึง 30 ปี แรก

ปรากฏการณ์นี้ ไม่น่าแปลกใจ เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าว มีการจู่โจม (Foray) ของเหตุการณ์ (Event) สำคัญๆ ในชีวิต อาทิ การมีเพศสัมพันธ์ การสอบไล่สำเร็จการศึกษา การเริ่มทำงาน การแต่งงาน และการเป็นพ่อแม่ (Parenthood) นักวิจัยหลายคนโต้แย้งว่าจุดสูงสุดของความทรงจำ มีเฉพาะเมื่อความทรงจำในเหตุการณ์ของชีวิตที่เป็นเชิงบวก (Positive memory) เท่านั้น โดยที่ไม่มีจุดสูงสุดของความทรงจำในเชิงลบ (Negative memory)

ในการเปรียบเทียบ (Contrast) นักวิจัยเคยเชื่อว่า ความทรงจำอัตชีวประวัติจากช่วงต้นๆ ของชีวิต หรือ “ความจำเสื่อมในวัยเด็ก” (Childhood amnesia) ที่เกิดขึ้นได้น้อยหรือไม่เกิดขึ้นเลย เนื่องจากความพยายามกดทับ (Suppression) ความทรงจำที่ไม่น่ารื่นรมย์ และความขัดแย้งในจิตใจ (Psycho-analytic conflict) แต่ในปัจจุบัน เชื่อกันว่าเป็นเพราะเด็กเล็กขาดความคิดอ่านทางจิตใจที่จะเอื้ออำนวย (Facilitate) การให้รหัส (Encode) ความทรงจำอัตชีวประวัติที่สามารถระลึกถึงได้ (Retrievable) ในภายหน้า

ประเด็นที่สัมพันธ์กับสิ่งที่จดจำ คือความชัดแจ้ง (Vividness) ของการระลึกได้ (Recall) การใคร่ครวญย้อนหลัง (Introspection) แสดงให้เห็นว่า ความทรงจำบางอย่าง ชัดเจนกว่าความทรงจำอื่น และโดยทั่วไป ความทรงจำในระยะแรกๆ มักถูกมอง (Perceived) ว่า ไม่ค่อยชัด (Dimmer) เมื่อเปรียบเทียบกับความทรงจำในระยะหลังๆ

ความทรงจำระยะไกล มักถูกมองว่า เสมือนการเฝ้าดูเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในฐานะผู้ชม (Bystander) [มิใช่ผู้เล่น] ในขณะที่เหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ ได้รับการจดจำจากมุมมอง (Viewpoint) ของผู้มีส่วนร่วมในเหตุการณ์ ณ เวลานั้น โดยที่ความชัดแจ้งของเหตุการณ์ ก็แปรเปลี่ยนไปตามแต่ละช่วงของชีวิต (Lifespan)

นักวิจัย พบว่า ผู้ใหญ่วัยต้น (Young adult) และวัยกลาง (Middle-age adult) ได้รับผลกระทบเชิงอารมณ์ (Emotional) จากเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ยิ่งมีความรู้สึกมาก ยิ่งเห็นแจ้งชัด แต่สำหรับผู้ใหญ่วัยดึก (Older adult) แล้ว สาเหตุสำคัญสุดของความแจ้งชัดอยู่ที่ความบ่อยถี่ของการคิดถึงเหตุการณ์ในเวลาต่อมา (Subsequen

t) นักวิจัยแนะนำว่า เนื่องจากปัญหาชราภาพเปิดเผย (Blunt) ให้เห็นความแจ้งชัดของความทรงจำ การซักซ้อม (Rehearse) บ่อยๆ จะช่วยดำรง (Retain) ความทรงจำในรายละเอียด เหมือนการนำชิ้นส่วนของเครื่องเงิน (Silverware) ออกจากตู้เก็บ (Cupboard) เพื่อมาขัดเงา (Polish) ป้องกันการเสื่อมเสีย (Tarnishing) ของเครื่องเงิน

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Auto-biographical memory - https://en.wikipedia.org/wiki/Autobiographical_memory[2017, May 2].