จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 103 : ความทรงจำอาศัยเหตุการณ์ (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

การค้นพบที่สัมพันธ์กันอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ ผู้สูงอายุด้อยความสามารถในการคัดออก (Edit out) ซึ่งข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้อง (Irrelevant) นักวิจัยมอบหมายงานให้ผู้ร่วมการวิจัย (Participant) ระลึกถึงคำบิดเบือน (Distractor) ซึ่งมิได้ปรากฏในบัญชีรายชื่อ TBR แต่ “ดูเหมือนจะปรากฏในหัว” โดยให้ผู้ร่วมการวิจัยกดปุ่ม ที่รู้ว่าเป็นคำบิดเบือน

แม้ผู้สูงอายุและผู้ใหญ่วัยต้นต่างก็แยกแยะคำบิดเบือนได้ถูกต้อง แต่นักวิจัยพบว่า ความทรงจำอาศัยเหตุการณ์ของผู้สูงอายุ ถูกขัดขวาง (Hamper) อย่างรุนแรงโดยความล้มเหลวในการจัดระเบียบและการตรวจสอบ นอกเหนือจากความจริงที่ผู้สูงอายุเชื่องช้ากว่าในการทำงาน 2 อย่างพร้อมๆ กัน (Concurrently) กล่าวคือ กดปุ่มและระลึกถึง (Recall) คำ ในเวลาเดียวกัน

สิ่งที่ตามมาจากการวิจัยก็คือ หากผู้สูงอายุด้อยความสามารถในการระลึก (Recall) ถึงข้อมูลบริบท (Contextual information) แต่เต็มใจยอมรับสิ่งบิดเบือน เป็นเป้าหมาย (Target) เขาก็จะมีแนวโน้ม (Prone) ของความทรงจำที่เป็นเท็จ (False memory) ซึ่งโดยทั่วไป ดูเหมือนจะเกิดขึ้นอย่างน้อยกับกรณีการทดลองในห้องปฏิบัติการ

ข้อสรุปนี้นำไปสู่ความกังวลในเรื่องความเชื่อถือได้ (Reliability) ของความทรงจำสักขีพยาน (Eyewitness memory) กล่าวคือ ผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะเชื่อมั่นอย่างผิดๆ (Erroneously confident) ว่าความทรงจำที่เป็นเท็จเหล่านี้ เป็นความจริง ดังนั้น ความทรงจำอาศัยเหตุการณ์ (Episodic memory) จึงแสดงรูปแบบ (Pattern) ของการเสื่อมถอยที่แตกต่างจากประเภทอื่นๆ ของความทรงจำ

นักวิจัยยังสังเกตว่า การเปลี่ยนแปลงในความทรงจำอาศัยเหตุการณ์ เป็นส่วนสำคัญ (Part and parcel) ของการรับรู้ (Cognitive) โดยทั่วไปของการเสื่อมถอยในชราภาพ อันที่จริง การเปลี่ยนแปลงในความทรงจำอาศัยเหตุการณ์ เป็นแนวทาง (Guide) ที่ดีของการเปลี่ยนแปลงโดยทั่วไปในทักษะการรับรู้ และกระบวนการของความทรงจำอื่นๆ อาทิ ความทรงจำการปฏิบัติงาน (Working memory)

ข้อสรุปนี้ นำไปสู่การค้นพบที่น่าใส่ใจ (Noteworthy) ว่า แม้ความทรงจำอาศัยความหมาย (Semantic memory) กับความทรงจำอาศัยเหตุการณ์ มักถูกเปรียบเทียบซึ่งกันและกัน แต่ความจริงแล้ว ทั้ง 2 ทักษะมีสหสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และจะยิ่งมีความสัมพันธ์กันมากขึ้น (Strongly) ในบั้นปลายของชีวิต

ในการศึกษาข้ามช่วงเวลา (Longitudinal study) 5 ปี นักวิจัยพบว่า ผลลัพธ์ (Performance) ของความทรงจำอาศัยเหตุการณ์ผันผวนขึ้น-ลง (Fluctuate) ในช่วงเวลาหนึ่ง มากกว่าความทรงจำอาศัยความหมาย แม้ความทรงจำทั้ง 2 ประเภท มีสหสัมพันธ์กันอย่างเหนียวแน่น และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในระยะยาวอีกด้วย แต่ความทรงจำทั้ง 2 ก็ยังมีคุณสมบัติ (Property) ที่แตกต่างกันอย่างโดดเด่นไม่ซ้ำแบบใคร (Unique) [แบบของใครของมัน]

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Episodic memory - https://en.wikipedia.org/wiki/Episodic_memory[2017, April 4].