จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 102 : ความทรงจำอาศัยเหตุการณ์ (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

ปัจจัยเหล่าเป็นเพียงจุดยอดของภูเขาน้ำแข็ง (Iceberg) [ที่อยู่ใต้น้ำ] เพราะมีการวิจัยนับหลายร้อยชิ้น ที่ค้นพบปัจจัยที่เชื่อมโยงกับการเสื่อมถอยของความทรงจำอาศัยเหตุการณ์ (Episodic memory) แม้จะมีเนื้อหา (Subject matter) คาบเกี่ยว (Overlap) ในงานวิจัยเหล่านี้ แต่น่าเสียดายที่งานวิจัยส่วนใหญ่ ยังไม่สามารถพิสูจน์การเชื่อมโยงสาเหตุจนเป็นที่น่าพอใจ (Satisfactorily) เป็นเพียงการพบสหสัมพันธ์บ้างกับการเสื่อมถอยในความทรงจำของผู้สูงอายุ

ความทรงจำอาศัยเหตุการณ์ แสดงผลกระทบของชราภาพอย่างมีนัยสำคัญ เพราะโดยลักษณะ (Nature) ของมัน มีความซับซ้อน และมีแนวโน้ม (Prone) ต่อการบิดเบือน (Distortion) มากกว่าประเภทความทรงจำอาศัยความหมาย (Semantic memory)

เมื่อผู้เข้าร่วมการวิจัย (Participant) ได้รับการร้องขอให้ระลึกถึง (Recall) ความจริง ในเหตุกาณ์ที่เคยเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว (ไม่เหมือนความทรงจำอาศัยความหมาย ซึ่งข้อมูลเดียวกัน อาจประสบพบเห็นได้ในหลายๆ ครั้ง) เขาจะถูกบังคับ (Nail down) ให้ตอบคำถามว่า อะไร? ที่ไหน? เมื่อไร? และโดยใคร? ในสิ่งที่พูดหรือกระทำ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นในกรณีของความทรงจำอาศัยความหมาย

[ในโลกแห่งความเป็นจริง] มีข้อมูลมากมายเกินกว่าความจำเป็นที่ต้องจดจำ และยิ่งมีข้อมูลมาก ยิ่งมีโอกาสผิดพลาดได้มาก ดังนั้นจึงไม่แปลกใจในความเสื่อมถอยของความทรงจำอาศัยเหตุการณ์ เหมือนกับการหลงลืมรายละเอียดในสภาวะแวดล้อม (Surrounding) ของรายการที่ควรจดจำ (To be remembered : TBR) สิ่งนี้เกี่ยวข้องกับประเด็นของความทรงจำแหล่งข้อมูล (Source memory) กล่าวคือ การจดจำบริบท (Context) ของบางอย่างที่เราเรียนรู้

ตัวอย่างเช่น นักวิจัยกลุ่มหนึ่งมอบหมายงานให้ผู้เข้าร่วมการวิจัย จดจำข้อมูลชุดใหม่ (ซึ่งเป็นเท็จ แต่อาจเป็นเศษชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่เป็นไปได้ [Plausible snippet] ของความรู้ทั่วไป) หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ ผู้สูงอายุ แสดงความบกพร่อง (Deficit) ไม่มาก ในการจดจำข้อเท็จจริง แต่ด้อยกว่าผู้ใหญ่วัยต้น ในการจดจำแหล่งเรียนรู้ข้อมูลดังกล่าว

นักวิจัยอีกกลุ่มหนึ่ง พบอย่างมีนัยสำคัญว่า ผู้สูงอายุมีความทรงจำที่ด้อยกว่าเกี่ยวกับแหล่งข้อมูล ในเรื่องรายการ TBR และเพศ (Gender) ของคนที่ระบุรายการ TBR รวมทั้งประจักษ์หลักฐานที่สรุปโดยปริยาย (Imply) เกี่ยวกับความทรงจำในข้อมูลบางส่วน (Partial) และข้อมูลเฉพาะ (Particular) ที่ได้รับผลกระทบพอๆ กัน

ในหัวข้อ (Theme) ที่สัมพันธ์กัน ผู้สูงอายุยังแสดงให้เห็นความเสื่อมถอย (Impairment) อย่างมีนัยสำคัญในความทรงจำปลายทาง (Destination memory) ซึ่งคือการจดจำว่า ใครได้บอกข้อมูลเดียวกันไปแล้ว ผู้สูงอายุมีความเสื่อมถอยทั้งในการจดจำว่า ได้บอกข้อมูลเดียวกันแก่ใคร? และใครบอกข้อมูลเดียวกันแก่เขา?

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Episodic memory - https://en.wikipedia.org/wiki/Episodic_memory[2017, March 28].