จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 101 : ความทรงจำอาศัยเหตุการณ์ (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

ความทรงจำอาศัยเหตุการณ์ (Episodic memory) คือความทรงจำของเหตุการณ์ (Event) ส่วนบุคคล (Auto-biographical) ซึ่งรวมทั้งเวลา สถานที่ อารมณ์ที่เกี่ยวข้อง และความรู้ในบริบท (Context) อื่นๆ ว่า ใคร? ทำอะไร? เมื่อไร? ที่ไหน? และทำไม? มันเป็นการรวบรวม (Collection) ประสบการณ์ส่วนตัว (Personal experience) ที่เกิดขึ้น ซึ่งสามารถระลึกถึง (Recall) ได้ในเวลาต่อมาของชีวิต

เรามักเห็นการเปรียบเทียบระหว่างความทรงจำอาศัยเหตุการณ์ (Episodic memory) กับ ความทรงจำอาศัยความหมาย (Semantic memory) เพราะมาจากแหล่งกำเนิด (Origin) ของแบบจำลอง (Model) ในทฤษฎีเดียวกัน และเพราะการจรรโลง (Preservation) ของความทรงจำอาศัยความหมาย ถูกเปรียบเทียบอย่างชัดแจ้ง (Explicit) กับการเสื่อมถอยของความทรงจำอาศัยเหตุการณ์ อยู่บ่อยครั้ง

ประสบการณ์ดังกล่าว รวมทั้ง (Encompass) ความทรงจำที่เกิดขึ้นในทุกๆ วัน และงานเทียมในห้องปฏิบัติการ (Artificial laboratory-based) อาทิ การจดจำบัญชีรายชื่อคำในช่วงระยะเวลาหนึ่ง อาทิ ความทรงจำระยะยาว (Long-term memory : LTM) โดยที่มีประจักษ์หลักฐากมากมาย (Overwhelming evidence) ของการเสื่อมถอยในงานดังกล่าว ไปตามสังขารณ์ อย่างมีนัยสำคัญ

นอกจากนี้ ยังมีความแตกต่างในอายุ เมื่อผู้เข้าร่วมการวิจัย (Participant) ถูกสั่งให้ลืมข้อมูล เมื่อเราค้นหาสาเหตุที่เป็นไปได้ (Possible cause) ของการเสื่อมถอยในความทรงจำอาศัยเหตุการณ์ ก็สามาถโต้แย้งได้ว่า เป็นเพราะข้อมูลที่มากเกินไป ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของปัจจัยที่เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงในความทรงจำอาศัยเหตุการณ์ ในบั้นปลายของชีวิต

  • การกินน้ำตาล (Glucose) สามารถเพิ่มพูนความทรงจำอย่างมีนัยสำคัญ
  • ระดับการศึกษา [ยิ่งสูง ยิ่งจดจำได้มาก]
  • การมียีนกลายพันธุ์ (Gene variant) ที่สัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อม (Dementia) สามารภทำลาย (Mar) ความทรงจำอาศัยเหตุการณ์ อย่างมีนัยสำคัญ
  • ระดับของกิจกรรมในเนื้อสมองส่วนฐานสมองใหญ่ (Thalamus) และ เนื้อสมองในกลีบขมับส่วนใกล้กลาง (Hippocampus) [ยิ่งสูง ยิ่งจดจำได้มาก]
  • การจรรโลงเนื้อขาวในระบบประสาท (White matter) [ยิ่งยาวนานในการจรรโลง ยิ่งจดจำได้มาก]
  • ตัวช่วยความจำ (Aides memoire) อาทิ การบอกใบ้ชื่อย่อของคำที่ควรจดจำ (To be remembered : TBR) ณ เวลานำกลับมาใช้งาน (Retrieve) สามารถเพิ่มความทรงจำอาศัยเหตุการณ์ แต่ผู้สูงอายุจะได้รับตัวช่วยที่แตกต่างจากผู้ใหญ่วัยต้น (Young adult) หรือไม่ เป็นจุดไร้ความสำคัญ (Moot point)

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Episodic memory - https://en.wikipedia.org/wiki/Episodic_memory[2017, March 21].