จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 100 : ความทรงจำอาศัยความหมาย

จิตวิทยาผู้สูงวัย

ความทรงจำอาศัยความหมาย (Semantic memory) เป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำระยะยาว (Long-term memory : LTM) ที่ประมวลความคิด (Idea) และแนวความคิด (Concept) ซึ่งมิได้ดึงมาจากประสบการณ์ส่วนตัว แต่ได้มาจากความรู้ทั่วไป อาทิ ชื่อของสี เสียงของอัขระ เมืองหลวงของประเทศ และข้อมูลพื้นฐานที่ได้รับ (Acquired) ตลอดชั่วชีวิต

ประจักษ์หลักฐาน (Evidence) เมื่อไม่นานมานี้ แสดงว่าขนาดของความทรงจำอาศัยความหมายในผู้สูงอายุ มีสหสัมพันธ์โดยตรงกับขนาดและการจรรโลงไว้ (Preservation) ของสสารสีเทา (Grey matter) อย่างไรก็ตาม ความทรงจำประเภทนี้ แตกต่างจากประเภทอื่นๆ ของความทรงจำ ดังกรณีต่อไปนี้

  • มันแตกต่างจากความทรงจำอาศัยเหตุการณ์ (Episodic memory) ซึ่งเป็นเหตุการณ์หรือเวลาที่ระลึกได้ โดยมักจะสัมพันธ์กับอารมณ์ความรู้สึก (Emotional) ตรงที่ความทรงจำอาศัยความหมาย ไม่มีมิติของเวลาหรือสถานที่มาเกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น เราเพียงรับรู้ว่า โคลัมบัสค้นพบอเมริกา แต่ไม่ต้องจำได้ว่าในปีไหน? หรือข้อมูลจากแหล่งใด?
  • มันแตกต่างจากงานในช่วงเวลาที่เป็นตัวเลข (Digit-span task) กล่าวคือ จำนวนปีหรือทศวรรษ (Decade) ที่ฝึกปรือ (Rehearse) ความทรงจำอาศัยความหมาย การปฏิบัติซ้ำ (Repeat) ทุกครั้งที่มีประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ [กล่าวคือได้รับการเตือนซ้ำข้อมูลพื้นฐานที่เป็นจริง ครั้งแล้วครั้งเล่าตลอดชีวิต] ทำให้การฝึกปรือมีคุณภาพ ที่ขาดแคลน (Lacking) ในประเภทอื่นๆ ของความทรงจำ
  • ความทรงจำอาศัยความหมาย ส่วนใหญ่ได้รับการรองรับสนับสนุนจาก “โครงสร้างพื้นฐานความทรงจำ” (Memory infra-structure) ซึ่งสอดคล้องกับฐานความรู้ (Knowledge base) และค่านิยมทางวัฒนธรรม (Cultural value) ที่อยู่ตัวแล้ว (Well-established) ทำให้มันง่ายต่อการกลมกลืน (Assimilated) กับบัญชีรายชื่อสิ่งที่ควรจดจำ (To be remembered : TBR) อาทิ รายชื่อคำ (Word list)

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ งานของความทรงจำอาศัยความหมาย เกิดขึ้นจากภายใน (Intrinsically) ที่ง่ายสำหรับผู้สูงอายุ หากเราพิจารณาถึงกรณี (Instance) ที่ผู้สูงอายุได้รับการร้องขอให้นำข้อมูลเฉพาะกลับมาใช้ (Retrieve) หรือข้อมูลในเร็ววัน (Recent) ก็จะเห็นความแตกต่างที่สัมพันธ์กับอายุได้อย่างเด่นชัด กล่าวคือ ยิ่งอายุสูง ยิ่งจดจำข้อมูลดังกล่าวได้น้อยลง

การวิจัยพบความจริงดังกล่าวในความทรงจำที่มีอยู่แล้ว (Existing) แต่การเก็บสะสมความทรงจำอาศัยความหมายใหม่ๆ อาจเสื่อมถอยลง นักวิจัยยังพบอีกว่า การจรรโลงความทรงจำอาศัยความหมายเป็นข้อมูลที่แข็งแกร่งที่สุด (Strongest) ที่ถูกใช้บ่อย แต่ข้อมูลเฉพาะ (อาทิ ชื่อของผู้คน) มิได้รับการจรรโลงไว้นานในผู้สูงอายุ และความสามารถในการนำรายการ (Item) ในความทรงจำกลับมาใช้อีก อาจไม่คล่องแคล่ว (Fluent) ในบั้นปลายของชีวิต อาทิ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเหตุการณ์ของโลก

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Semantic memory - https://en.wikipedia.org/wiki/Semantic_memory[2017, March 14].