จะสูง จะต่ำ ก็ไม่ดี (ตอนที่ 4)

จะสูงจะต่ำก็ไม่เอา

การปล่อยให้ความดันโลหิตสูงโดยไม่ทำการควบคุม อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ดังนี้

  • ภาวะหัวใจวาย หรือโรคหลอดเลือดสมอง (Strokes)
  • หลอดเลือดโป่งพอง (Aneurysms)
  • หลอดเลือดที่ไตตีบ ทำให้อวัยวะทำงานไม่เต็มที่
  • หลอดเลือดที่ตาตีบหรือแตก ทำให้ตาบอด
  • อ้วนลงพุง (Metabolic syndrome)
  • ความจำแย่ลง

ทั้งนี้ การควบคุมความดันโลหิตอาจทำได้ด้วยการเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิต (Lifestyle) เช่น

  • กินอาหารที่มีประโยชน์มีรสเค็มน้อยลง
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • เลิกสูบบุหรี่
  • จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์
  • รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม
  • ลดความเครียด
  • ฝึกผ่อนคลายและหายใจลึกๆ

นอกจากนี้อาจใช้ยาที่ใช้ในการลดความดันโลหิต ซึ่งได้แก่

  • ยาขับปัสสาวะ (Diuretics) เพื่อช่วยกำจัดโซเดียมออกจากร่างกาย
  • ยากั้นเบต้า (Beta-blocker) เพื่อลดการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด
  • ยาลดความดันโลหิตกลุ่ม Angiotensin-converting enzyme (ACE) inhibitors
  • ยาลดความดันโลหิตกลุ่ม Angiotensin II receptor blockers (ARBs)
  • ยาปิดกั้นแคลเซียม (Calcium channel blockers) เพื่อปิดกลั้นการไหลเข้าของเกลือแคลเซียมทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวลดลง
  • ยากลุ่ม Renin inhibitors

สำหรับความดันโลหิตต่ำ (Hypotension) เป็นภาวะที่รักษาให้หายได้หากรู้ถึงสาเหตุที่แท้จริง โดยนักกีฬาและคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำมักจะมีความดันโลหิตต่ำและอัตราการเต้นของหัวใจที่ช้ากว่าคนที่ไม่ได้ออกกำลังกาย

อย่างไรก็ดี การที่ความดันตกอย่างรวดเร็วอาจเป็นอันตราย เช่น ความดันที่ตกจาก 110 เหลือ 90 ในทันทีทันใดจะทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ อาจทำให้เวียนศีรษะและหน้ามืดเป็นลม หรือการเสียเลือดมาก การติดเชื้อ หรืออาการแพ้อย่างรุนแรง ก็สามารถทำให้เสียชีวิตได้

แหล่งข้อมูล

1. High blood pressure (hypertension). http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/high-blood-pressure/basics/definition/con-20019580[2015, November 28].

2. Low blood pressure (hypotension). http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/low-blood-pressure/basics/definition/con-20032298 [2015, November 28].