จะสูง จะต่ำ ก็ไม่ดี (ตอนที่ 3)

จะสูงจะต่ำก็ไม่เอา

สมาคมโรคหัวใจของสหรัฐอเมริกา (American Heart Association = AHA) ได้แบ่งค่าความดันโลหิตดังนี้

ทั้งค่าตัวบนและตัวล่างเป็นค่าที่สำคัญ อย่างไรก็ดีหลังอายุ 60 ปีแล้ว เรามักจะให้ความสำคัญกับค่าตัวบนมากกว่า

ความดันโลหิตสูงแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

1. ความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ (Primary hypertension) ซึ่งใช้เวลาค่อยๆ เกิด และไม่ค่อยทราบสาเหตุ

2. ความดันโลหิตสูงทุติยภูมิ (Secondary hypertension) เป็นความดันโลหิตสูงที่มักเกิดอย่างรวดเร็ว โดยมีสาเหตุเกิดจากภาวะอื่น เช่น

  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive sleep apnea)
  • ปัญหาโรคไต
  • เนื้องอกต่อมหมวกไต (Adrenal gland tumors)
  • ปัญหาไทรอยด์
  • หลอดเลือดชำรุดแต่กำเนิด
  • ยาบางชนิด เช่น ยาคุม ยาแก้หวัด ยาลดน้ำมูก (Decongestant) ยาแก้ปวด
  • ยาเสพติด เช่น โคเคคน ยาบ้า (Amphetamines)
  • การติดสุรา

ความเสี่ยงที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ได้แก่

  • อายุ - ยิ่งอายุมากโอกาสที่ความดันโลหิตสูงก็ยิ่งมาก โดยผู้ชายมักเกิดความดันโลหิตสูงประมาณอายุ 45 ปี ในขณะที่ผู้หญิงมักเป็นหลังอายุ 65 ปี
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็น
  • เป็นโรคอ้วนหรือน้ำหนักเกิน เพราะยิ่งน้ำหนักมากก็ยิ่งต้องการออกซิเจนและอาหารไปเลี้ยงเซลล์
  • ไม่ค่อยออกกำลังกาย
  • สูบบุหรี่
  • กินอาหารที่มีรสเค็ม
  • ดื่มแอลกอฮอล์
  • ความเครียด
  • เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคไต โรคเบาหวาน
  • การตั้งครรภ์

แหล่งข้อมูล

1. What is High Blood Pressure? http://www.heart.org/HEARTORG/Conditions/HighBloodPressure/AboutHighBloodPressure/What-is-High-Blood-Pressure_UCM_301759_Article.jsp#.VkHAgE94vIU[2015, November 1].

2. High blood pressure (hypertension). http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/high-blood-pressure/basics/definition/con-20019580 [2015, November 1].