งูสวัด สัญญาณเตือนเมื่อภูมิต่ำ (ตอนที่ 1)

งูสวัดสัญญาณเตือนเมื่อภูมิต่ำ

พญ.มิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผอ.สถาบันโรคผิวหนัง กล่าวถึงสถานการณ์โรคงูสวัด ว่าขณะนี้พบผู้ป่วยโรคงูสวัดเพิ่มขึ้น โดยจากการเก็บข้อมูลของสถาบันฯ ในแต่ละปีจะพบผู้ป่วย 700-800 ราย แต่ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-15 ก.พ.กลับพบผู้ป่วย 98 ราย เมื่อเฉลี่ยแล้วจะพบว่ามีผู้ป่วยเพิ่มกว่าปกติ 10%

พญ.มิ่งขวัญ กล่าวถึงอาการของงูสวัดว่า จะมีไข้ต่ำ ปวดเมื่อย ปวดแสบปวดร้อน ตามบริเวณที่กำลังจะขึ้นผื่นเพราะเส้นประสาทเกิดการอักเสบ เป็นตุ่มแดง ตุ่มน้ำพองใส และจะมีการเรียงตัวของผื่นตามแนวเส้นประสาท พบบ่อยบริเวณไขสันหลัง และใบหน้า โดยบริเวณใบหน้ามีความเสี่ยงมากเพราะอาจทำให้ตาบอดได้

อย่างไรก็ตามโรคนี้ไม่ได้อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต เพราะมียารักษาและทุกสิทธิสามารถเข้าถึงได้ แต่คนที่เสียชีวิตจะเกิดจากโรคแทรกซ้อน ทั้งนี้ การเป็นงูสวัดถือเป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายกำลังมีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ดังนั้น จึงควรไปตรวจเช็คร่างกายเพิ่มเติมเพราะอาจมีความเสี่ยงเป็นโรคเอดส์ มะเร็ง หรือภาวะเครียดรุนแรงได้

โรคงูสวัด (Shingles / herpes zoster) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดผื่นตุ่มที่เจ็บปวด สามารถเกิดได้ทุกบริเวณของร่างกาย แต่ส่วนใหญ่เกิดที่เป็นตุ่มพองผาดที่ลำตัว (Torso)

โรคงูสวัดเกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อ Varicella-zoster virus ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับไวรัสที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส (Chickenpox) เพราะหลังจากที่เป็นโรคอีสุกอีใสแล้ว เชื้อจะฝังตัวอยู่ในเซลล์ประสาทใกล้กระดูกไขสันหลังและสมองโดยไม่แสดงปฏิกริยาอะไร จนเมื่อร่างกายอ่อนแอ ระบบภูมิคุ้มกันต่ำ เชื้อจึงอาจปรากฏเป็นอาการของโรคงูสวัด

อาการของโรคงูสวัดจะเป็นอยู่นานประมาณ 2-6 สัปดาห์ โดยคนส่วนใหญ่จะเป็นโรคงูสวัดเพียงครั้งเดียว แต่ก็มีบางคนที่เป็นซ้ำ 2 ครั้งหรือมากกว่า

อาการโดยทั่วไป ได้แก่

  • ปวดแสบ ปวดร้อย ชา หรือรู้สึกซ่า (Tingling)
  • ไวต่อการสัมผัส
  • มีผื่นแดงหลังอาการปวด
  • มีตุ่มพองน้ำ (Fluid-filled blisters) แตกและเกาะเป็นแผ่นแข็ง (Break open and crust over)
  • คัน

บางคนอาจมีอาการ

  • เป็นไข้
  • ปวดศีรษะ
  • ไวต่อแสง (Sensitivity to light)
  • อ่อนเพลีย

บรรณานุกรม

1. เตือนป่วย “งูสวัด” ควรตรวจโรคร้าย. http://www.thairath.co.th/content/862044 [2017, March 10].

2. Shingles. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/shingles/basics/definition/con-20019574in-the-elderly [2017, March 10].