งีบกลางวันเสี่ยงเบาหวาน (ตอนที่ 8)

งีบกลางวันเสี่ยงเบาหวาน

บางคนจะมีลักษณะที่เรียกว่า โรคเบาหวานทุติยภูมิ (Secondary diabetes) หรือเบาหวานที่เกิดร่วมกับโรคอื่น หรือกรณีตับอ่อนได้รับบาดเจ็บ (Injury) ซึ่งจะมีลักษณะอาการคล้ายโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เว้นแต่ระบบภูมิคุ้มกันไม่ได้ทำลายเบต้าเซลล์

อาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ได้แก่

  • กระหายน้ำมาก
  • ปัสสาวะบ่อย
  • หากเป็นเด็กจะมีการปัสสาวะรดที่นอน (Bedwetting)
  • หิวมาก
  • ปากแห้ง
  • น้ำหนักลดโดยไม่ตั้งใจ
  • อารมณ์หงุดหงิด (Irritability) และแปรปรวน
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • เหนื่อยล้า
  • สายตาพร่ามัว
  • หากเป็นหญิงจะมีการติดเชื้อราในช่องคลอด (Vaginal yeast infection)

โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ได้แก่

  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็น (Family history) – หากมีพ่อแม่หรือพี่น้องที่เป็นก็จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
  • พันธุกรรม (Genetics) – ยีน (Genes) บางตัวสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน
  • ภูมิศาสตร์ (Geography) – หากอยู่ไกลจากเส้นศูนย์สูตร (Equator) เช่น คนที่อยู่ในประเทศฟินแลนด์และซาร์ดิเนีย จะมีโอกาสในการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 มากกว่าคนที่อยู่ในสหรัฐอเมริกา 2-3 เท่า และมากกว่าคนที่อยู่ในประเทศเวเนซุเอลาถึง 400 เท่า
  • อายุ – มักเกิดมากที่สุดในเด็กอายุระหว่าง 4-7 ปี รองลงไปเป็นเด็กอายุระหว่าง 10-14 ปี นอกจากนี้อาจมีปัจจัยเสี่ยงที่เป็นไปได้ที่อยู่ระหว่างการพิสูจน์อยู่ เช่น
  • การได้รับเชื้อไวรัสบางตัว เช่น Epstein-Barr virus, Coxsackie virus, Mumps virus และ Cytomegalovirus
  • การกินนมวัวในวัยเด็กเร็วเกินไป
  • ระดับวิตามินดีต่ำ
  • การดื่มน้ำที่มีสารไนเตรท
  • แม่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia) ในช่วงที่ตั้งครรภ์
  • เป็นโรคดีซ่าน (Jaundice) ตั้งแต่เกิด

แหล่งข้อมูล

1. Type 1 diabetes. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/type-1-diabetes/basics/definition/con-20019573[2015, November 13].

2. Type 1 Diabetes. http://www.webmd.com/diabetes/type-1-diabetes-guide/type-1-diabetes[2015, November 13].