คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็งตอน ผลการรักษามะเร็งปอดชนิดเซลล์ตัวเล็ก

คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง

มะเร็งปอดมีหลายชนิด รวมถึงชนิดเซลล์ตัวเล็ก ที่ปัจจุบันการรักษาโรคในระยะต้นๆคือ ระยะที่1และต้นระยะที่2 หรือระยะ T1-2N0M0 จะใช้การผ่าตัดปอดกลีบที่เกิดโรค จึงได้มีการศึกษาว่า มะเร็งปอดชนิดเซลล์ตัวเล็กระยะนี้ หลังผ่าตัดแล้วควรได้รับการรักษาวิธีอื่นร่วมด้วยหรือไม่ คือ ยาเคมีบำบัด และ/หรือการฉายรังสีรักษาที่สมองเพื่อป้องกันมะเร็งแพร่กระจายมายังสมอง เนื่องจากมะเร็งปอดชนิดนี้มีการแพร่กระจายสู่สมองสูงตั้งแต่ในระยะต้นๆของโรค หรือควรใช้เพียงการผ่าตัดวืธีการเดียว

คณะแพทย์ที่ศึกษาเรื่องนี้ เป็นคณะแพทย์จาก Duke University Medical Center in Durham สหรัฐอเมริกา นำโดย นพ. Chi-Fu Jeffrey Yang และได้ตีพิมพ์ล่วงหน้าทางอินเทอร์เน็ตในวารสารการแพทย์ Journal of Clinical Oncology เมื่อ 18 มกราคม 2559

การศึกษานี้เป็นการศึกษาย้อนหลัง Population based cohort โดยใช้ข้อมูลจาก National Cancer Data Base จากปี ค.ศ. 2003-2011 ซึ่งมีผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดเซลล์ตัวเล็กระยะ T1-2N0M0 ได้รับการศึกษาทั้งหมด 1,574 ราย ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีอัตรารอดที่5 ปี 47% ในการนี้ 61% สามารถผ่าตัดก้อนเนื้อออกได้หมด(R0 resection)และได้รับการรักษาเพียงการผ่าตัดวิธีการเดียว ผู้ป่วยที่เหลือ ได้รับการรักษาต่อเนื่องหลังการผ่าตัดด้วยยาเคมีบำบัด และ/หรือรังสีรักษา รวมถึงการฉายรังสีรักษาแบบป้องกันที่สมอง

ผลการศึกษาเปรียบเทียบพบว่า กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาต่อเนื่องด้วยยาเคมีบำบัดและ/หรือรังสีรักษา มีอัตรารอดชีวิตที่ 5ปี สูงกว่ากลุ่มผ่าตัดวิธีการเดียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (HR 0.78 vs 0.52)

ผลการศึกษาครั้งนี้ เมื่อนำมาพิจารณาร่วมกับสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย อาจนำมาช่วยสนับการติดสินใจเลือกวิธีรักษามะเร็งปอดชนิดเซลล์ตัวเล็กระยะT1-2N0M0 ได้

บรรณานุกรม

http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/26786925 [2016,Sept17].