คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอนสถิติโรคมะเร็งของไทย

คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง

เรื่องตอนนี้ สืบเนื่องจากตอนที่แล้วที่เป็นสถิติมะเร็งของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.2011 ตอนนี้ เป็นสถิติของมะเร็งของไทยครั้งล่าสุด จัดทำโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข โดยรวบรวมจากทะเบียนมะเร็งภาคต่างๆทั่วประเทศไทยทั้งหมด 13 แห่ง รายงานเมื่อปี ค.ศ. 2010 โดยเป็นข้อมูลของปีค.ศ. 2001-2003 ทั้งนี้การจัดทำครั้งนี้ ที่ต่างจากสหรัฐอเมริกา คือ ไม่มีรายงายสถิติแยกตามกลุ่มอายุ ไม่มีรายงานรวมทั้งเพศหญิงและเพศชาย และไม่มีรายงานอัตราอยู่รอดในภาพรวมของผู้ป่วยมะเร็งทั้งประเทศ

รายงานผู้ป่วยมะเร็งของไทยคือ พบอัตราเกิดมะเร็งในเพศชายทั้งหมด 143.3 รายต่อประชากรชาย 1 แสนคน ในการนี้พบต่ำสุดที่ สงขลา คือ 113 รายต่อประชากรชาย 1 แสนคน และพบสูงสุดที่ อุดร คือ 231.3 รายต่อประชากรชาย 1 แสนคน ส่วนในประชากรหญิง 1 แสนคน พบโรคมะเร็ง118.6 ราย พบต่ำสุดที่สงขลา คือ 98.4ราย และสูงสุดที่อุดร คือ 185.1 ราย

,p>มะเร็งพบบ่อย 4 ลำดับเรียงจากที่พบบ่อยที่สุดลงไป และคิดต่อฐานประชากรชาย หรือ หญิง 1 แสนคน ขึ้นกับว่าเป็นมะเร็งของเพศชาย หรือเพศหญิง ซึ่งพบได้ดังนี้ ในเพศชาย ที่พบได้สูงสุดคือมะเร็งตับ 38.6ราย, มะเร็ง ปอด 24.9 ราย, มะเร็ง ลำไส้ใหญ่ 11.3 ราย, และมะเร็ง ต่อมลูกหมาก 5.5 ราย ส่วนในเพศหญิง มะเร็งที่พบสูงสุด คือ มะเร็งเต้านม พบได้ 20.9ราย, มะเร็งปากมดลูก พบ 18.1 ราย, มะเร็ง ตับ พบ 14.6 ราย, และมะเร็ง ปอดพบ 9.7ราย

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า มะเร็งที่พบบ่อยของเราและสหรัฐอเมริกาเหมือนๆกัน แต่แตกต่างกันที่ลำดับของการพบบ่อย

บรรณานุกรม

Khuhaprema, T. et al. (2010). Cancer in Thailand. Volume. V, 2001-2003. Thai National Cancer Institute [2015,Nov21]