คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน: อาการ Burnout ในแพทย์โรคมะเร็ง

คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง

เมื่อ 26-30 กันยายน ค.ศ. 2014 มีการประชุมประจำปีของสมาคมแพทย์อายุรกรรมมะเร็งของยุโรป (European Society for Medical Oncology: ESMO) จัดที่ประเทศ เสปน ซึ่งได้มีการนำเสนอในที่ประชุมถึงเรื่องน่าสนใจเรื่องหนึ่ง คือ อัตราการเกิด กลุ่มอาการด้านจิตใจที่เกิดจากการอ่อนล้าทางอารมณ์จากการทำงาน ที่เรียกว่า Burnout syndrome (BOS) ของแพทย์ด้านอายุรกรรมโรคมะเร็งที่เพิ่งจบใหม่ในยุโรปว่า มีปัญหาในการทำงานอย่างไร แพทย์กลุ่มที่ได้มีการศึกษาทั้งหมดจากทั่วยุโรป จะมีอายุต่ำกว่า 40 ปี โดยเป็นการตอบคำถาม ที่ไม่มีการระบุชื่อผู้ตอบ

คณะแพทย์ที่ศึกษาเรื่องนี้ นำโดยแพทย์ ชื่อ Banerjee,S แห่งโรงพยาบาล Royal Marsden สหราชอนาจักร ทั้งนี้มีแพทยกลุ่มดังกล่าวตอบคำถามทั้งหมด 595 ราย

ผลการศึกษาพบว่า อายุรแพทย์โรคมะเร็งที่จบใหม่มี อาการของ BOS สูงถึง 71% และ 50% มีอาการมากจนบุคลลิกภาพเปลี่ยนแปลง (Depersonalization) และสูงถึง 74% ที่ระบุว่า ทางโรงพยาบาลไม่ได้ให้การดูแลแพทย์ในเรื่องนี้

คณะผู้ศึกษาสรุปผลการศึกษาว่า BOS เป็นสาเหตุหลักให้แพทย์ที่เกิดอาการของ BOS ลาออกจากงาน หรือเปลี่ยนสาขาการทำงาน

BOS เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการอ่อนล้าทางอารมณ์ จากการทำงานที่มากเกินไป พักผ่อนน้อย งานจะมีลักษณะเป็นงานเรื้อรัง ซ้ำซาก จำเจ มีการคาดหวังในผลจากการทำงานของคนไข้และครอบครัวคนไข้สูง ซึ่งจะขัดแย้งกับธรรมชาติของโรคมะเร็ง ทำให้แพทย์กดดันอย่างมาก และปัจจุบันแพทย์ต้องระวังเรื่องการฟ้องร้อง ซึ่งแพทย์โรคมะเร็งมีโอกาสถูกฟ้องร้องได้ง่าย เพราะการรักษามีผลข้างเคียงสูง(โดยเฉพาะรังสีรักษา) ผลการรักษาต่ำกว่าโรคอื่น นอกจากนั้นค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงกว่าโรคอื่น

ในบ้านเรา ยังไม่มีการศึกษาเรื่อง BOS ในแพทย์อย่างจริงจัง แต่จากลักษณะงาน ทำให้แพทย์ด้านโรคมะเร็งโดยเฉพาะสาขารังสีรักษา เป็นสาขาคลาดแคลนที่สุดของประเทศ จากไม่มีผู้สนใจสมัครเรียนด้วยเหตุผลดังกล่าวทั้งหมด

บรรณานุกรม

  1. http://www.esmo.org/Conferences/ESMO-2014-Congress/Press-Media/More-Than-70-of-Young-Oncologists-in-Europe-Suffer-Symptoms-of-Burnout [2015,May 16]