คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง: ตอนขั้นตอนการทำงานของแพทย์รักษามะเร็ง
ตอนที่ 3 ระยะโรคมะเร็ง

สารบัญ

เมื่อทราบผลว่า เป็น โรคมะเร็ง แล้ว แพทย์ก็จะทราบว่า เป็นโรคมะเร็งของอวัยวะใด แพทย์ก็จะพิจารณาว่า การรักษาโรคมะเร็งของอวัยวะนั้นๆ ให้การรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางรักษาโรคมะเร็งสาขาไหน เช่น ถ้าเป็น มะเร็งเต้านม ผู้ป่วยก็จะได้รับการส่งไปปรึกษา ศัลยแพทย์ทั่วไป หรือ ศัลยแพทย์มะเร็งวิทยา ถ้าเป็น มะเร็งปากมดลูก ก็จะส่งไปปรึกษานรีแพทย์มะเร็งวิทยา หรือ รังสีรักษาแพทย์ ถ้าเป็นมะเร็งระบบ โรคเลือด ก็จะส่งไปปรึกษา แพทย์โลหิตวิทยา หรือ มะเร็งโลหิตวิทยา ถ้าเป็น มะเร็งปอด ก็จะส่งปรึกษาศัลยแพทย์ด้านทรวงอก หรือ อายุรแพทย์มะเร็งวิทยา ถ้าเป็น มะเร็งในเด็ก ก็จะส่งปรึกษากุมารแพทย์มะเร็งวิทยา เป็นต้น ขั้นตอนการปรึกษานี้โดยทั่วไปจะใช้เวลา 1-2 สัปดาห์ แต่ถ้าเป็นรังสีรักษา บางโรงพยาบาลรัฐบางแห่งที่ผู้ป่วยหนาแน่นมากอาจใช้เวลา ถึงประมาณ 1-2 เดือน

เมื่อพบแพทย์เฉพาะทางด้านโรคมะเร็งตามนัดแล้ว การรักษาก็ยังเริ่มไม่ได้ เพราะการรักษาโรคมะเร็ง แพทย์ต้องทราบระยะของโรคมะเร็งก่อน

ในระหว่างขั้นตอนต่างๆดังกล่าว ผู้ป่วยยังไม่สามารถรับการรักษาตัวโรคมะเร็งได้ ดังนั้นการรักษาที่ผู้ป่วยได้รับ คือ การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น ยาแก้ปวด ยาบำรุงเลือดหรือการให้เลือดเมื่อมี ภาวะซีด การเจาะท้องใส่สายให้อาหารในกรณีกินอาหารทางปากไม่ได้ หรือการเจาะคอใส่ท่อช่วยหายใจเมื่อหายใจตามปกติไม่ได้ เป็นต้น

คราวหน้าจะเล่าต่อว่า เมื่อพบแพทย์เฉพาะทางโรคมะเร็งแล้ว แพทย์เฉพาะทางโรคมะเร็งเหล่านั้น จะดูแลผู้ป่วยมะเร็งต่ออย่างไรคะ