คุมยา ยาคุม (ตอนที่ 2)

คุมยา ยาคุม

ผศ.พญ.สุวิรากร กล่าวว่า ยาคุมกำเนิดเป็นข้อบ่งชี้ที่ทำมาเพื่อคุมกำเนิด แต่ผลข้างเคียงที่มีประโยชน์ คือ ช่วยรักษาสิว ลดอาการปวดท้องก่อนมีประจำเดือนได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนกินได้

ผศ.พญ.สุวิรากร กล่าวแนะนำว่า กลุ่มคนที่ไม่ควรยุ่งกับยาคุมกำเนิดเลย คือ คนที่มีโรคประจำตัวประเภทโรคเลือดที่มีการแข็งตัวผิดปกติ คนที่เป็นไมเกรนแบบมากๆ โรคตับ โรคไต มะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก คนที่ตั้งครรภ์ เพราะฉะนั้นไม่ควรเสี่ยงซื้อยาคุมกำเนิดกินเอง และควรปรึกษาแพทย์ก่อน

การคุมกำเนิดเป็นวิถีทางที่ชายและหญิงใช้เพื่อการป้องกันการตั้งครรภ์ ซึ่งมีหลายวิธีที่ใช้ในการคุมกำเนิดด้วยการควบคุมฮอร์โมน (Hormonal contraception) เช่น ยากิน แผ่นแปะ (The patch) และการใช้วงแหวนช่องคลอด (Vaginal ring) เป็นต้น

ผู้หญิงโดยทั่วไปนิยมกินยาคุมกำเนิด (Birth control pill / the Pill) ซึ่งหากกินอย่างถูกวิธีจะสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ถึงร้อยละ 99.9 อย่างไรก็ดี ยาคุมกำเนิดไม่สามารถป้องกันโรคที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ เช่น เฮชไอวี ได้

ยาคุมกำเนิดที่ควบคุมฮอร์โมนจะมีส่วนผสมของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโพรเจสทิน (Progestin) ยานี้จะหยุดการตั้งครรภ์ด้วยการ

  • หยุดการตกไข่ (Ovulating)
  • ทำให้มูกช่องคลอด (Cervical Mucus) หนา เป็นสาเหตุให้เชื้ออสุจิ (Sperm) เข้าไปผสมกับไข่ได้ยาก
  • ช่วยทำให้ผนังมดลูกไม่เอื้อต่อการฝังตัวของไข่

ยาคุมกำเนิดมีหลายแบบ เช่น ยาคุมกำเนิดที่เรียกว่า Seasonale จะประกอบด้วยฮอร์โมนทั้งเอสโตรเจนและโพรเจสทิน ซึ่งมีรอบระยะเวลานานกว่า สามารถลดรอบเดือนที่มี 13 ครั้งต่อปีให้เหลือเพียง 4 ครั้งต่อปี

ส่วนยาคุมกำเนิดที่เรียกว่า Mini pills นั้น จะมีส่วนผสมของโพรเจสทินเพียงอย่างเดียว สามารถใช้ได้ในหญิงอยู่ระหว่างให้นมบุตร หรือหญิงที่มีปัญหาเรื่องคลื่นไส้เพราะเอสโตรเจน

ผลข้างเคียงที่เกิดจากการ่ใช้ยาคุมอาจได้แก่