คุณรู้จักวัคซีนดีหรือยัง (ตอนที่ 4 และตอนจบ)

คุณรู้จักวัคซีนดีหรือยัง-4

รายชื่อวัคซีนที่ควรรู้จัก

  • HepB - ใช้ป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B)
  • RV - ใช้ป้องกันเชื้อไวรัสโรต้า (Rotavirus) ที่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคท้องร่วง (Diarrhea)
  • DTaP - ใช้ป้องกันโรคคอตีบ (Diphtheria) โรคบาดทะยัก (Tetanus) และโรคไอกรน (Pertussis / whooping cough)
  • Hib - ใช้ป้องกันเชื้อแบคทีเรียฮีโมฟิลุส อินฟลูเอนซา ชนิดบี หรือเชื้อฮิบ (Haemophilus influenzae Type B = Hib) ที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial meningitis)
  • PCV – ใช้ป้องกันโรคปอดอักเสบ (Pneumococcal disease)
  • IPV - ใช้ป้องกันโรคโปลิโอ (Polio)
  • Influenza (Flu) – ใช้ป้องกันโรคไข้หวัด
  • MMR - ใช้ป้องกันโรคหัด (Measles) โรคคางทูม (Mumps) และโรคหัดเยอรมัน (Rubella / German measles)
  • Varicella – ใช้ป้องกันโรคอีสุกอีใส (Chickenpox)
  • HepA – ใช้ป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ เอ (Hepatitis A)

ทั้งนี้ การให้วัคซีนสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่

1. การกิน (Oral route) เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันในลำไล้ เช่น วัคซีนโปลิโอ วัคซีนไข้ไทฟอยด์ชนิดกิน

2. การฉีดเข้าในผิวหนัง (Intradermal หรือ Intracutaneous route) การฉีดวิธีนี้ทำให้แอนติเจนเข้าไปทางระบบน้ำเหลืองได้ดี เช่น วัคซีนวัณโรค วัคซีนพิษสุนัขบ้า

3. การฉีดเข้าใต้ผิวหนัง (Subcutaneous route) มักใช้กับวัคซีนที่ไม่ต้องการให้มีการดูดซึมที่เร็วเกินไป เพราะอาจเกิดปฏิกิริยารุนแรง เช่น วัคซีนรวมหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน วัคซีนไข้ไทฟอยด์ วัคซีนไข้สมองอักเสบ วัคซีนสุกใส

4. การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (Intramuscular route) เป็นการฉีดลึกลงถึงชั้นกล้ามเนื้อ

แม้การฉีดวัคซีนจะเป็นการป้องกันโรคที่ดี แต่ก็มีข้อโต้แย้งถึงการฉีดวัคซีนในเด็กว่า อาจทำให้เด็กได้รับผลข้างเคียง เช่น มีอาการแพ้ อาการชัก เป็นอัมพาต และเสียชีวิต

หรือแม้แต่กระตุ้นให้เกิดปัญหาอื่นตามมาอันเนื่องมาจากส่วนประกอบในวัคซีน เช่น สารปรอท อลูมิเนียม ฟอร์มาลีน ที่อาจทำให้เป็นโรคออทิซึม (Autism) โรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder = ADHD) และโรคเบาหวาน (Diabetes)

แหล่งข้อมูล:

  1. Should Any Vaccines Be Required for Children? http://vaccines.procon.org/ [2017, November 22].
  2. Vaccine Schedule for Infants and Toddlers. http://www.healthline.com/health/vaccinations/infant-immunization-schedule#takeaway4 [2017, November 22].