คุณค่าของclip แชร์เพื่อช่วยชีวิต

คุณค่าของclipแชร์เพื่อช่วยชีวิต

ช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีการกล่าวถึงคลิปไวรัลที่ห่วยที่สุด หรือคลิปแชร์เพื่อช่วยชีวิต Share to Save A Life ที่จัดทำโดย กลุ่มวิจัยโรคหลอดเลือดสมอง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 7 ขอนแก่น เพื่อรณรงค์การเข้าถึงระบบบริการทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง หรื Stroke Fast Track มีผู้ชมคลิปดังกล่าวมากกว่า 3 ล้านครั้ง และทำสถิติ 1 ล้านการเข้าชมภายในเวลาเพียง 20 ชั่วโมง

คลิปดังกล่าวนั้นนอกจากการรณรงค์ให้ประชาชนทราบถึงโรคอัมพาต การเข้าถึงระบบ stroke fast track และการใช้บริการ 1669 แล้ว ยังจบด้วยการประชาสัมพันธ์ Application STROKE KKU เพื่อใช้ในการ activate stroke fast track หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Application ช่วยชีวิต มีคนถามถึงที่มาว่าทำไมเราถึงคิดทำคลิปนี้ขึ้นมา ถามถึงว่าทำ application นี้ยากหรือไม่ ทำเองหรือใครทำ แพงหรือเปล่า ผมขอตอบเลยว่า “มูลค่าของคลิปรณรงค์หรือ application นั้น ถ้าคิดเป็นมูลค่า ก็พอสมควร แต่นั้นไม่ใช่หัวใจของคลิปหรือ application ครับ หัวใจของมันคือ คุณค่าของสื่อที่ผู้จัดทำต้องการให้ประชาชน คนไทยรู้จักโรคอัมพาตมากขึ้น สามารถเข้าถึงระบบการรักษาทางด่วนโรคอัมพาตได้มากขึ้น เพื่อที่จะได้ไม่เป็นโรคอัมพาต หรือถ้าเป็นก็หายได้ ไม่เป็นผู้ที่มีความพิการ ต้องให้คนอื่นดูแล”

เรามาช่วยกันทำให้คุณค่าของคลิป แชร์เพื่อช่วยชีวิต นี้มีคุณค่า และ Application STROKE KKU มีคุณค่ามากขึ้น สามารถใช้งานได้จริงตรงตามวัตถุประสงค์ และชื่อ คือ “Application ช่วยชีวิต”