คิดให้ดีก่อนอยากขาว (ตอนที่ 2)

คิดให้ดีก่อนอยากขาว-2

กลูตาไธโอน (Glutathione) เป็นสารที่ประกอบอยู่ในเซลล์ของร่างกาย เกิดจากกรดอะมิโน 3 ชนิดยึดเกาะกัน คือ ซีสตีอีน (Cysteine) กลูตาเมท (Glutamate) และไกลซีน (Glycine) และเป็นสารที่สามารถพบได้ในผลไม้สด ผักสด และเนื้อสัตว์

กลูตาไธโอน ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ที่ช่วยในการทำลายและขจัดสารพิษออกจากร่างกาย ซึ่งมีทั้งสารพิษที่ร่างกายสร้างขึ้นเองหรือที่เกิดจากมลภาวะหรือยา

เมื่ออายุมากขึ้น การสร้างกลูตาไธโอนจะลดลง เป็นผลทำให้ร่างกายมีสุขภาพแย่ลง นอกจากนี้ปริมาณกลูตาไธโอนอาจลดลงได้ในกรณีที่เป็นโรคดังต่อไปนี้

  • โรคมะเร็ง (Cancer)
  • ติดเชื้อเฮชไอวี/เอดส์ (HIV/AIDS)
  • โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 diabetes)
  • โรคตับอักเสบ (Hepatitis)
  • โรคพาร์คินสัน (Parkinson's disease)

ในทางการแพทย์พบว่ามีการนำกลูตาไธโอนมาทดลองใช้ในการรักษาโรคต่างๆ ซึ่งยังไม่ได้รับการอนุมัติข้อบ่งใช้จากองค์การอาหารและยา (FDA) อย่างชัดเจน โดยงานวิจัยได้กล่าวถึงกลูตาไธโอนดังนี้

กรณีที่เป็นไปได้ (Possibly Effective) ได้แก่

- การฉีดเข้าทางหลอดเลือด (Intravenous) เพื่อลดผลข้างเคียงของการเคมีบำบัด (Chemotherapy) ที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง

กรณีที่หลักฐานยังไม่เพียงพอ (Insufficient Evidence) ได้แก่

-การฉีดเข้าทางหลอดเลือด (Intravenous) เพื่อใช้รักษา

  • โรคพาร์คินสัน
  • โรคเบาหวาน
  • ภาวะโลหิตจางในผู้ที่ฟอกไต
  • โรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis).
  • ภาวะเป็นหมันในเพศชาย

แหล่งข้อมูล:

  1. GLUTATHIONE. https://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-717-glutathione.aspx?activeingredientid=717 [2017, December 1].
  2. Glutathione.https://www.webmd.com/vitamins-and-supplements/glutathione-uses-risks [2017, December 1].