คลอรีนสารพิษต่อชีวิตเรา (ตอนที่ 1)

คลอรีนสารพิษต่อชีวิตเรา

เมื่อต้นปีมีรายงานข่าวว่า ได้เกิดเหตุสารเคมีรั่วไหลขึ้น โดยเบื้องต้น จุดเกิดเหตุอยู่ภายในสระว่ายน้ำของสนามกีฬากลาง จ.ขอนแก่น ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นการที่สารคลอรีนรั่วไหลในขณะที่มีประชาชนจำนวนมากกำลังลงเล่นน้ำ เนื่องจากเป็นวันหยุด

โดยอาการคนที่สูดดมโดนสารเคมี คือ หมดสติ อาเจียน มีทั้งหมดประมาณ 40 คน ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ระดมกำลังนำส่งโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นแล้ว โดยจำนวนนี้มีอาการสาหัส 2 คน เป็นเด็กอายุ 5 ขวบ และ 7 ขวบ สอบถามคาดว่าสารคลอรีนสำหรับฆ่าเชื้อของสระน้ำเกิดรั่วไหลมากเกินไป จึงได้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว

คลอรีน (Chlorine) เป็นสารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เป็นส่วนหนึ่งของเกลือ (Literal salt) บนโลกที่มีอยู่มากมาย คนใช้ประโยชน์จากคลอรีนในการฆ่าเชื้อต่างๆ แต่ขณะเดียวกันคนก็สามารถได้รับพิษที่เกิดจากคลอรีนด้วย

เราใช้คลอรีนเป็นสารที่ใช้ฆ่าเชื้อโรค (Disinfectant) ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบ้าน โดยใช้เป็นสารระเหย (Fumigant) ในการหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้ออีโคไล (E. coli) และเชื้อไกอาเดีย (Giardia) และใช้เป็นตัวฆ่าเชื้อในระบบน้ำ

แม้ว่าการฆ่าเชื้อในน้ำดื่มด้วยคลอรีนจะมีความจำเป็น แต่ก็ต้องระวังเรื่องความปลอดภัยของคลอรีน เพราะมีการระบุถึงความเชื่อมโยงระหว่างคลอรีนกับปัญหาสุขภาพ ซึ่งรวมถึงโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุด้วย

สระว่ายน้ำต้องมีการทำความสะอาดด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งเพื่อป้องกันการติดเชื้อและไม่ให้แบคทีเรียเจริญเติบโต คลอรีนไม่ใช่วิธีที่ปลอดภัยที่สุดแต่ก็เป็นสิ่งที่นิยมใช้กันทั่วไป ดังนั้นจึงต้องมีการละลายสารคลอรีนให้พอเหมาะเพื่อที่จะใช้ฆ่าเชื้อโรคในสระ แต่ก็ต้องไม่แรงพอที่จะทำร้ายต่อคนว่ายน้ำ

มีงานวิจัยของ Marywood University ที่ยืนยันว่า การสัมผัสกับคลอรีนในสระน้ำเป็นระยะเวลานานสามารถก่อให้เกิดอาการของโรคหอบหืดในนักว่ายน้ำได้ นอกจากนี้ อาการระคายเคืองในตาและผิวหนัง ก็มีสมมติฐานมาจากการสัมผัสกับคลอรีนนั้นเอง

นอกจากนี้ The New York University College of Dentistry ก็ได้ระบุว่า คลอรีนในสระว่ายน้ำเป็นส่วนหนึ่งของการทำลายเคลือบฟันด้วย

ในแต่ละปี ในสหรัฐอเมริกา ได้มีอุบัติเหตุมากมายที่เกิดขึ้นภายในบ้าน ส่วนหนึ่งมาจากสารเคมีที่เป็นพิษอย่าง สารฟอกขาว (Bleach) ในน้ำยาทำความสะอาด ซึ่งสามารถปล่อยก๊าซคลอรีนที่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจเมื่อมีการสูดดมเข้าไป หรือที่คุณรู้สึกได้ถึงอาการแสบไหม้ในหลอดลม

ส่วนความรู้สึกตอบสนองของผิวหนังที่มีต่อคลอรีนอาจแสดงออกด้วยอาการดังต่อไปนี้

  • ผิวหนังแดง กดเจ็บ (Tenderness) อักเสบ หรือคันบริเวณที่สัมผัส
  • ผิวหนังเป็นผื่นคัน
  • ตกสะเก็ด (Scales)

บรรณานุกรม

1. เด็กกว่า 20 คน สำลักกลิ่นคลอรีน สระน้ำขอนแก่น หามส่ง รพ.วุ่น. http://www.thairath.co.th/content/590311 [2016, October 29].

2. Toxic Chemical: The Health Dangers of Chlorine.http://acaai.org/allergies/types/allergy-myths/chlorine-allergy [2016, October 29].

3. Chlorine “Allergy” .http://www.cdc.gov/pertussis/about/ [2016, October 29].