ครีมกันแดด...แพทย์ไม่แนะนำ (ตอนที่ 1)

นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการ คณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยถึงกรณีที่ปรากฏเป็นข่าวว่า บริษัท อีเนอร์ไจเซอร์ โฮลดิงส์ จำกัด ตั้งอยู่รัฐมิสซูรี ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ผลิตครีมกันแดดยี่ห้อ “บานานาโบ๊ท” (Banana Boat) ได้เรียกเก็บคืนผลิตภัณฑ์ชนิดสเปรย์กันแดดของบริษัท สูตร “อัลตรามิสต์” จำนวน 23 รายการ เนื่องจากพบว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว อาจก่อความเสี่ยงให้เกิดไฟลุกไหม้ผิวหนังของผู้ใช้ได้

โดยเฉพาะหากถูกประกายไฟหรือเปลวไฟ ในขณะที่สเปรย์กันแดดยังไม่แห้งสนิทดี สเปรย์กันแดดที่เป็นสารระเหยก็จะถูกฉีดพ่นออกมาเคลือบบนผิวหนังมาก เนื่องจากขนาดของหัวฉีดสเปรย์ที่กว้างจน เกินไปและจะใช้เวลานาน กว่าน้ำยาที่สเปรย์ออกมา จะแห้งสนิท ขณะนี้มีผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ได้รับบาดเจ็บแล้วในสหรัฐอเมริกา จำนวน 4 รายและในแคนาดา 1 ราย

นอกจากอันตรายที่เกิดจากครีมกันแดดประเภทสเปรย์แล้ว โดยปกติ คนเรามักมองครีมกันแดดเป็นของมีประโยชน์ เป็นเครื่องสำอางที่ “จำเป็น” มีไว้เพื่อเติมสีสันให้ใบหน้าเหมือนเครื่องประทินโฉมแบบอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคที่ค่านิยม ความสวยของคนไทยคือ “ผิวขาว หน้าใส”

ครีมกันแดดจึง เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้พอๆ กับครีมเพื่อผิวขาว (Whitening) อื่นๆ ทีเดียว แม้กระทั่งกลุ่มที่ไม่สนใจเครื่องประทินผิวทั้งหลาย ครีมกันแดดก็ยังเป็นข้อยกเว้น ด้วยเหตุผลของการป้องกันอาการผิวหนังไหม้หรือโรคมะเร็งผิวหนัง แต่ครีมกันแดดมีแต่ประโยชน์ หรือเป็นสิ่ง “จำเป็น” อย่างที่ฉลากข้างขวดบอกคุณจริงหรือ? เกร็ดน่ารู้ที่เกี่ยวกับครีมกันแดดดังต่อไปนี้ อาจทำให้คุณเปลี่ยนใจ

  • เมื่อใช้ตามที่ฉลากข้างขวดบอก ครีมกันแดดจะปิดกั้นการผลิตวิตามินดีตามธรรมชาติของผิว เพียงทาครีม กันแดดบางๆ ก็ไปลดทอนความสามารถในการผลิตวิตามินสำคัญดังกล่าวลงได้ ในขณะที่ยังไม่สามารถ ป้องกันการผิวไหม้ได้ดีเท่าที่ควร และเมื่อมีปริมาณของครีมกันแดด หรือค่าปกป้องแสงแดด (Sun Protection Factor : SPF) ตามที่ อย. แนะนำ ก็อาจไม่มีการผลิตวิตามินดีเกิดขึ้นเลย
  • ตัวกรองแสงยูวีในแสงแดด (UV = Ultra Violet) หลายตัวที่ใช้เป็นส่วนประกอบในครีมกันแดด จะมีผลกระทบต่อ เอสโตรเจน ต่อร่างกายของผู้ใช้ (หมายความว่าส่วนประกอบที่ใช้กรองแสงยูวีดังกล่าว ส่งผลกระทบทาง ชีววิทยาเหมือนกับฮอร์โมนเอสโตรเจนนั่นเอง)
  • หากคุณเป็นผู้หญิง ยิ่งมีครีมกันแดดตกค้างอยู่ตามผิวหนังมากเท่าไหร่ คุณก็ยิ่งมีความเสี่ยง ที่จะเป็นโรค เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) มากเท่านั้น เนื่องจากโรคที่สร้างความเจ็บปวดท้องน้อยดังกล่าวเติบโตด้วย ฮอร์โมนเอสโตรเจนนั่นเอง แม้ว่าความเข้มข้นของตัวกรองแสงยูวีแต่ละ ตัวในครีมกันแดดจะต่ำ แต่เมื่อสารเคมี เหล่านี้มาอยู่รวมกัน ก็จะมีผลกระทบทาง เอสโตรเจนที่มีศักยภาพสูงกว่าเมื่อสารเคมีแต่ละตัวอยู่แยกกัน
  • ผลกระทบทางเอสโตรเจนที่มีอยู่ในสารประกอบของครีมกันแดดดังกล่าว ยังเป็นอันตรายต่อสัตว์ป่าอีกด้วย สารเคมีจากผู้คนที่ทาครีมกันแดดและลงว่ายน้ำ ไหลไปตามแหล่งน้ำตามธรรมชาติและน้ำเสีย ตัวกรองแสงยูวี เหล่านี้จะลอยค้างอยู่ และไปต้านการเน่าเปื่อยผุพังของสิ่งแวดล้อมด้วย

แหล่งข้อมูล:

  1. อย.สั่งเรียกเก็บ ‘สเปรย์กันแดด’ ยี่ห้อ Banana Boat http://www.naewna.com/local/27222 [2012, October 31].
  2. Six Hidden Dangers of Sunscreen You Must Know for Summer. http://perfectformuladiet.com/health/six-hidden-dangers-of-sunscreen-you-must-know-for-summer/ [2012, October 31].