ครั้งแรกของโลก - ไทยพบยีนเสี่ยงดื้อยาต้านเอดส์ (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

ยาเอฟาวิเรนซ์ (Efavirenz) อาจมีปฏิกิริยากับยาอื่นเช่น

  • ยาเอฟาวิเรนซ์ ถูกย่อยสลายที่ตับโดยเป็นทั้งสารตั้งต้น (Substrate) และ ตัวกระตุ้น (Inducer) ของเอนไซม์ 2B6 ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งในระบบย่อยสลาย Cytocrome P450 หมายความว่ายาเอฟาวิเรนซ์ จะมีผลกับยาอื่นซึ่งถูกย่อยสลายที่ตับ ทำให้ต้องมีการเพิ่มหรือลดขนาดของยา
  • ยาเอฟาวิเรนซ์ ทำให้ระดับของยาในเลือดของกลุ่มยับยั้ง (Protease Inhibitor) ส่วนใหญ่ลดต่ำลง ขนาดของยาต้านไวรัส จึงต้องให้เพิ่มขึ้น ส่วนระดับของยาในเลือดของกลุ่มอื่น อาจลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งทำให้การยับยั้งการขยายพันธุ์ของไวรัสไม่สมบูรณ์ เป็นเหตุให้เชื้อไวรัสดื้อต่อยาหลายตัว ทำให้คนไข้ถึงแก่ชีวิตได้

ยาเอฟาวิเรนซ์ มีผลข้างเคียงดังนี้

  • อาการทางจิตใจ รวมทั้งการนอนไม่หลับ (Insomnia) ฝันร้าย (Nightmare) สับสน (Confusion) สูญเสียความจำ (Memory loss) และอาการซึมเศร้า (Depression) เป็นอาการที่พบได้บ่อย ที่รุนแรงคืออาการวิกลจริต (Psychosis) จะเกิดขึ้นในคนไข้ที่ตับและไตทำงานบกพร่อง
  • ผื่นแด ง(Rash) คลื่นไส้ (Nausea) มึนงง วิงเวียน หรือเวียนศีรษะ (Dizziness) ปวดหัว(Headache) อาจเกิดขึ้นได้
  • ยาเอฟาวิเรนซ์ สามารถทำให้เกิดทารกวิรูป (Deformity) ได้ในหญิงมีครรภ์ จึงไม่แนะนำให้ใช้ในหญิงมีครรภ์ในระยะ 3 เดือนแรก
  • ความปลอดภัยในเด็กยังไม่มีการศึกษาที่เพียงพอ
  • ยาเอฟาวิเรนซ์ อาจให้ผลบวกเทียม (False Positive) ในการทดสอบปัสสาวะของผู้ที่เสพกัญชา

ยาเอฟาวิเรนซ์ มีราคาค่อนข้างแพง ปริมาณยา 600 มิลลิกรัม 1 เดือน ในราคา $550 เหรียญ (ประมาณ 16,500 บาท) หลายประเทศจึงสั่งยาสามัญ (Generic drug) จากประเทศอินเดีย ชื่อยา Efavir ของบริษัท Cipla เพื่อลดต้นทุน ในประเทศไทยราคายา 1 เดือน (ยาเอฟาวิเรนซ์ + Truvada) เท่ากับ 2,900 บาท แต่ในประเทศไทยเรามีสำนักงานประกันหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) คอยสนับสนุนสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถสู้ค่าใช้จ่ายแพงได้

ตัวยาเอฟาวิเรนซ์เป็นผลึกสีขาวถึงสีชมพูอ่อน มีน้ำหนักโมเลกุล 315.68 กรัมต่อโมล มีคุณสมบัติไม่ละลายน้ำ คือน้อยกว่า 10 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ส่วน จีน/ยีน CYP2B6 เป็นส่วนหนึ่งของเอนไซม์ Cytochrome P450 ซึ่งเป็นโปรตีนของ Cytochrome P450 ช่วยเร่งปฏิกิริยาการสลายตัวของยาต่างๆ และสังเคราะห์ (Synthesis) โคเลสเตอรอล (Cholesterol) สเตอร์รอยด์ (Steroid) และไขมัน (Lipids) ต่างๆ

แหล่งข้อมูล

  1. Efavirez - http://en.wikipedia.org/wiki/Efavirenz [2013, March 15].
  2. CYP2B6 - http://www.ncbi.nlm.nih.gov/gene/1555 [2013, March 15].