ขาดวิตามินดี มีโอกาสซึมเศร้า (ตอนที่ 2)

วิตามินดีอยู่ในกลุ่มของไขมันละลายที่ชื่อว่า Secosteroids ในมนุษย์ วิตามินดีมีลักษณะเฉพาะ กล่าวคือ สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ในลักษณะของวิตามินดี 3 (Cholecalciferol) หรือ วิตามินดี 2 (Ergocalciferol) และเนื่องจากร่างกายมนุษย์สามารถสังเคราะห์วิตามินดีได้จากคลอเรสเตอรอลเมื่อได้รับแสงอาทิตย์ที่พอเพียง จึงได้ชื่อว่าเป็นวิตามินแสงอาทิตย์ (Sunshine vitamin)

แม้ว่าวิตามินดีจะได้ชื่อว่าเป็นวิตามิน แต่ก็ไม่เหมือนวิตามินที่ได้จากการกินแบบวิตามินทั่วไป (Dietary vitamin) เพราะสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสามารถสังเคราะห์วิตามินดีได้จากแสงอาทิตย์ อย่างไรก็ดี ส่วนประกอบของวิตามินดีมีสารอาหารที่ผู้เป็นโรคกระดูกอ่อน (Rickets) ต้องการ ดังนั้นจึงมีการผสมวิตามินดีลงในอาหารหลัก เช่น นม

เหตุผลหลัก ก็เพื่อหลีกเลี่ยงการเป็นโรคขาดวิตามินนอกจากการป้องกันโรคกระดูกอ่อนแล้ว อาหารเสริมวิตามินดียังมีประโยชน์ต่อสุขภาพกระดูกและลดอัตราการตายในหญิงสูงอายุด้วย แต่ ผลของอาหารเสริมวิตามินดีที่มีต่อสุขภาพยังไม่เป็นที่ชัดเจน

สถาบันการแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา (Institute of Medicine : IOM) ได้รายงานว่า ยังเป็นที่โต้แย้งกันอยู่ระหว่างความสัมพันธ์ของวิตามินดีกับโรคมะเร็ง (Cancer) โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ (Cardiovascular diseases) โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) โรคเบาหวาน (Diabetes) และระบบเผาผลาญในร่างกาย (Metabolism)

นอกจากนี้ ยังไม่สามารถสรุปได้ว่า วิตามินดี มีความสัมพันธ์กับการล้ม (Fall) ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคในร่างกาย (Immune system) และความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันตนเอง (Autoimmune disorder) การติดเชื้อ (Infection) ระบบจิตประสาทวิทยา (Neuropsychological system) โรคพิษแห่งครรภ์ระยะก่อนชัก (Preeclampsia)

ระดับวิตามินดีที่ต่ำอาจมีความเสี่ยงต่อการเป็นวัณโรค (Tuberculosis) ซึ่งในอดีตก็มีการใช้วิตามินดีในการรักษาโรคนี้ด้วย จนถึงปีพ.ศ. 2554 จึงได้มีการทดสอบชนิดที่มีการควบคุมการรักษา (Controlled clinical trials) แล้วพบว่า วิตามินดีมีผลต่อเชื้อเอชไอวี (HIV)

แม้ว่าระดับวิตามินดีที่ต่ำจะมีส่วนสัมพันธ์กับการเป็นโรคหืด (Asthma) แต่การรับประทานวิตามินดีเป็นอาหารเสริมก็ยังไม่มีบทสรุปว่ามีส่วนช่วยในเรื่องของโรคหืดได้ ดังนั้นในปัจจุบันจึงยังไม่แนะนำให้รับประทานวิตามินดีเป็นอาหารเสริมเพื่อป้องกันโรคหืด

นอกจากนี้ ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอว่าการรับประทานวิตามินดีเป็นอาหารเสริมจะช่วยเรื่องการเติบโตของเส้นผมและขนในตัวมนุษย์ด้วย อย่างไรก็ตาม ระดับวิตามินดีในเลือดที่ต่ำมีผลต่อการเพิ่มอัตราการตาย การรักษาโดยให้วิตามินดี 3 ในผู้สูงอายุก็อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตได้

การขาดวิตามินดีทำให้เกิดโรคกระดูกน่วม (Osteomalacia) หรือที่เรียกกันว่าโรคกระดูกอ่อนในเด็ก (Rickets) ระดับเซรั่มของวิตามินดีที่ต่ำมีความสัมพันธ์กับความเสื่อมและความหนาแน่นของมวลกระดูกที่ต่ำลง (Low bone mineral density)

อย่างไรก็ดีมีบทวิจัยบางแห่งได้ระบุว่าอาหารเสริมพวกวิตามินดีและแคลเซียมอาจเพิ่มมวลกระดูกได้เพียงเล็กน้อย พอๆ กับการลดความเสี่ยงในการพลัดตกหกล้มและกระดูกหักในคนบางกลุ่ม และวิตามินดีจะไม่สามารถมีประโยชน์ได้เลยถ้ามีปริมาณแคลเซียมไม่เพียงพอ

แหล่งข้อมูล:

  1. Vitamin D. http://en.wikipedia.org/wiki/Vitamin_D [2012, July 10].