ขาดน้ำเหมือนขาดใจ (ตอนที่ 3)

ขาดน้ำเหมือนขาดใจ

ทุกคนมีโอกาสในการเกิดภาวะขาดน้ำได้ แต่ผู้ที่มีความเสี่ยงมาก ได้แก่

  • ทารกและเด็ก
  • ผู้สูงวัย – เพราะความสามารถในการรักษาน้ำในร่างกายลดลง ความรับรู้ในการกระหายน้ำน้อยลง มักลืมกินหรือดื่มน้ำ
  • ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง – เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคหัวใจ การเป็นหวัดหรือเจ็บคอทำให้ไม่อยากกินหรือดื่มขณะป่วย
  • กีฬาที่ใช้ความทนทาน (Endurance Athletes) เช่น ไตรกีฬา (Triathlons - เป็นการเล่นกีฬาที่รวมเอาการว่ายน้ำ ขี่จักรยาน และวิ่งเข้าด้วยกัน) การปีนเขา เพราะการใช้ระยะเวลาออกกำลังกายที่นานก็ทำให้โอกาสขาดน้ำมีสูงกว่า
  • ผู้ที่อาศัยอยู่ในที่สูง (High altitudes - เกินกว่า 8,200 ฟุต หรือประมาณ 2,500 เมตร) เพราะร่างกายจะพยายามปรับตัวให้เข้ากับระดับความสูงด้วยการปัสสาวะมากขึ้นและหายใจเร็วขึ้น และยิ่งหายใจเร็วเพื่อคงระดับออกซิเจนในเลือด น้ำก็จะยิ่งระเหยมากขึ้นขณะหายใจออก
  • ผู้ที่ทำงานหรือออกกำลังกายในที่ที่มีอากาศร้อน

อาการของภาวะขาดน้ำมีหลายระดับ ได้แก่

อาการระดับอ่อนถึงระดับปานกลางซึ่งมักทำให้เกิดอาการ ดังนี้

  • กระสับกระส่าย (Restlessness) และหงุดหงิด (Irritability)
  • ปากแห้ง
  • เหนื่อยอ่อนเพลีย (เด็กมักจะไม่กระฉับกระเฉงเหมือนปกติ)
  • กระหายน้ำ
  • ปัสสาวะน้อย
  • ผิวแห้ง ไม่ยืดหยุ่น
  • ปวดศีรษะ
  • ท้องผูก
  • เวียนศีรษะ

อาการรุนแรงจะทำให้เกิดอาการ ดังนี้

  • หิวน้ำมาก
  • ปากและผิวหนังแห้งมาก
  • ปัสสาวะน้อย มีสีเข้ม หรือไม่มีปัสสาวะ
  • นัยน์ตาลึก (Sunken eyes)
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • หายใจเร็ว
  • เป็นไข้
  • ในทารก กระหม่อมจะยุบ ร้องไห้ไม่มีน้ำตา
  • ในรายที่เป็นหนัก จะเพ้อ (Delirium) หรือหมดสติ (Unconsciousness)

แหล่งข้อมูล

1. Dehydration. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/dehydration/basics/definition/con-20030056 [2016, March 31].

2. Rehydration Therapy. . http://www.cdc.gov/cholera/treatment/rehydration-therapy.html [2016, March 31].