ของฝากจากน้ำท่วม (ตอนที่ 3)

การเดินทางไกลอย่างปลอดภัย

อาการที่พบรองลงมา (ต่อ)

  • ต่อมน้ำเหลืองโต
  • ม้ามหรือตับโต
  • ปวดข้อ
  • กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง (Muscle rigidity)
  • กล้ามเนื้อแข็งกดเจ็บ (Muscle tenderness)
  • ผิวหนังเป็นผื่น
  • เจ็บคอ

เนื่องจากโรคฉี่หนูมีอาการที่คล้ายกับโรคอื่นๆ จึงอาจทำให้เกิดการวิเคราะห์โรคผิด ทั้งนี้ ในผู้ป่วยบางคนก็อาจจะไม่แสดงอาการเช่นกัน

ระยะเวลาในการฟักตัวหลังการติดเชื้ออยู่ที่ประมาณ 2 วัน ถึง 4 สัปดาห์ อาการจะเกิดขึ้นทันทีทันใดด้วยอาการไข้และตามด้วยอาการอื่น ซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ

  • หลังระยะแรก (ที่ป่วยด้วยอาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ อาเจียน หรือ ท้องเสีย) ผู้ป่วยอาจจะฟื้นตัวสักระยะ และอาจจะกลับมามีอาการป่วยอีก
  • หากมีอาการระยะที่สอง อาการจะรุนแรงกว่าระยะแรก โดยผู้ป่วยอาจจะมีอาการไตวาย ตับวาย เยื่อบุสมองอักเสบ เป็นต้น

อาการจะเป็นอยู่นานตั้งแต่ 2-3 วัน หรือ 3 สัปดาห์ หรือนานกว่า (เฉลี่ยอยู่ที่ 10 วัน) หากไม่ทำการรักษาอาจต้องใช้เวลาฟื้นฟูอีกหลายเดือน

โรคฉี่หนูเป็นโรคที่เกิดได้ทั่วโลก แต่ที่พบมากที่สุดคือ ในบริเวณเขตร้อน โดยผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ ได้แก่

  • เกษตรกร
  • คนงานเหมืองแร่
  • คนงานป่าไม้
  • คนงานโรงฆ่าสัตว์
  • สัตวแพทย์และผู้ดูแลสัตว์
  • ชาวประมง
  • คนงานปศุสัตว์
  • ทหาร

บรรณานุกรม

1. Leptospirosis. https://www.cdc.gov/leptospirosis/ [2017, January 19].

2. Leptospirosis. https://medlineplus.gov/ency/article/001376.htm [2017, January 19].