กาฬโรค ความตายสีดำ (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

กาฬโรคความตายสีดำ

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเพิ่มขึ้น ได้แก่

  • ภูมิประเทศ – มักเกิดในแถบชนบทหรือในเมืองที่แออัด ระบบสาธารณสุขด้อยประสิทธิภาพ มีประชากรหนูเป็นจำนวนมาก
  • อาชีพ – สัตวแพทย์และผู้ช่วย มีความเสี่ยงในการติดเชื้อจากแมวบ้านที่เลี้ยงไว้ซึ่งติดเชื้อกาฬโรคจากการถูกหมัดกัดหรือจากการกินหนูที่มีเชื้อ
  • งานอดิเรก – การไปแคมปิ้ง (Camping) การล่าสัตว์ หรือการปีนเขา ในบริเวณที่สัตว์มีเชื้ออาศัยอยู่ก็อาจมีความเสี่ยงในการโดยหมัดกัดได้

อาการแทรกซ้อนของกาฬโรคที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่

  • เสียชีวิต – กรณีที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
  • เนื้อตายเน่าดำ (Gangrene) – การขาดเลือดในบริเวณเส้นเลือดเล็กๆ เช่น นิ้วมือและเท้า อาจเป็นสาเหตุให้เซลล์ตาย ทำให้ต้องตัดเนื้อส่วนนั้นออก
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) – เป็นกรณีที่ไม่ค่อยพบ แต่กาฬโรคอาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดการอักเสบบริเวณเยื่อหุ้มเซลล์ที่สมองและไขสันหลังได้

การวินิจฉัยโรคด้วยการตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย Yersinia pestis อาจทำได้ด้วยการตรวจ

  • ของเหลวที่ได้จากเจาะต่อมน้ำเหลืองที่บวมและอักเสบโดยเฉพาะที่ไข่ดันหรือรักแร้ (Bubo) เพื่อดูว่าเป็น Bubonic plague หรือไม่
  • ตรวจเลือดเพื่อดูว่าเป็น Septicemic plague หรือไม่
  • ตรวจปอด เสมหะ หรือของเหลวที่อยู่ในทางเดินหายใจ เพื่อดูว่าเป็น Pneumonic plague หรือไม่

ทันทีที่มีการตรวจพบว่าเป็นกาฬโรค จะต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลโดยแยกห้องกับผู้อื่น ซึ่งแพทย์จะทำการให้ยาปฏิชีวนะอย่าง

  • Gentamicin
  • Doxycycline
  • Ciprofloxacin

สำหรับแนวทางป้องกันกาฬโรคที่ทำได้ คือ

  • ดูแลบ้านให้สะอาด อย่าให้เป็นแหล่งให้หนูทำรัง
  • กำจัดหมัดในตัวสัตว์ที่เลี้ยงอยู่เสมอ
  • ใช้ยาไล่แมลง (Insect repellent)
  • หลีกเลี่ยงการเข้าไปในบริเวณที่มีการระบาดของโรค

แหล่งข้อมูล

  1. Plague. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/plague/basics/definition/con-20021610 [2014, December 19].