การวินิจฉัยแยกโรค (Differential diagnosis)

บ่อยครั้ง การวินิจฉัยโรค หรือ การตรวจวินิจฉัยโรคในแต่ละครั้ง แพทย์ไม่สามารถให้การวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงของความผิดปกติหรือหาโรค (การวินิจฉัยสุดท้าย/Final diagno sis) ได้ เพราะโรคหลากหลายชนิดมี อาการ อาการแสดง ผลจากการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และ/หรือผลจากการตรวจทางรังสีวิทยาที่คล้ายกันมาก ซึ่งทำให้แพทย์ต้องใช้ระยะเวลาในการตรวจวินิจฉัย อาจเป็นวัน หลายวัน สัปดาห์ และบางครั้งอาจเป็นเดือน ทั้งนี้เพราะต้องส่งต่อการตรวจสืบค้นไปยังโรงพยาบาลต่างๆที่มีศักยภาพในการตรวจนั้น ที่อาจเป็นในและ/หรือต่างประ เทศ ซึ่งระหว่างรอ “การวินิจฉัยสุดท้าย” แพทย์จะให้การวินิจฉัยเป็นหลายโรค เรียกว่า “การวิ นิจฉัยแยกโรค (Differential diagnosis)” เช่น ผู้ป่วยมาด้วย ไข้สูง การวินิจฉัยแยกโรคที่พบบ่อยที่ทำให้ผู้ป่วยมีไข้สูง คือ ไข้หวัดใหญ่ โรคไข้เลือดออก โรคฉี่หนู โรคไข้จับสั่น และโรคไทฟอยด์

การวินิจฉัยแยกโรค มีประโยชน์ที่แพทย์ใช้เป็นแนวทางในการส่งการตรวจต่างๆเพิ่มเติม(การสืบค้น) เพื่อให้ได้การวินิจฉัยสุดท้าย เช่น ควรส่งตรวจอะไร (เช่น ตรวจเลือดดูการติดเชื้อไข้จับสั่น หรือดูสารภูมิต้านทาน หรือดูสารก่อภูมิต้านทาน เป็นต้น) และยังเพื่อให้การรักษาระ หว่างรอ “การวินิจฉัยสุดท้าย” โดยเลือกยาและวิธีรักษาที่ครอบคลุมทุกโรคที่อยู่ใน “การวินิจฉัยแยกโรค”

ทั้งนี้ แพทย์ให้การวินิจฉัยแยกโรคได้จาก ประวิติอาการผู้ป่วย ประวิติทางการแพทย์ต่าง ๆ และการตรวจร่างกาย และอาจร่วมกับ การตรวจเพิ่มเติม/การตรวจสืบค้นต่างๆ

บรรณานุกรม

  1. Differential diagnosis https://en.wikipedia.org/wiki/Differential_diagnosis [2013,Aug10].
  2. Medical diagnosis https://en.wikipedia.org/wiki/Medical_diagnosis [2013,Aug10].